หมีแพนด้ายักษ์มีชื่อในทางวิทยาศาสตร์คือ
Kingdom: Animalia
Phylum: chordate
Class: Mammalia
Order: Carnivora
Family: Ursidae
Genus & Species : Ailuropoda melanoleuca
หมีแพนด้ามีถิ่นอาศัยดั่งเดิมอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศจีน เป็นสัตว์ที่ไม่ชอบอยู่นิ่งในธรรมชาติชอบปีนป่ายต้นไม้หรือหาอาหารโดยเวลาส่วนใหญ่ใช้ไปกับการกินอาหาร (eating) การพักผ่อน (resting) และการหาอาหาร (foraging) หมีแพนด้าจะไม่จำศีลเหมือนหมีชนิดอื่นๆ มีอายุเฉลี่ยประมาณ 25-30 ปี
ลักษณะของรูปร่างโดยทั่วไป มีขนสีดำรอบดวงตาทั้งสองข้าง หู ไหล่ ขาหน้า และขาหลัง มีขนสีขาวบริเวณหัว คอ สะโพก ขนหนาปุกปุย เพื่อช่วยเก็บรักษาความอบอุ่นร่างกาย หมีแพนด้ามีขน 2 ชั้น คือ ขนชั้นนอกจะมีสีขาว และขนสีดำ ส่วนชั้นในจะมีสีน้ำตาลอ่อน ความหนาของขนจะมีความยาวประมาณ 5 เซนติเมตร เพื่อป้องกันน้ำ และอากาศหนาว แต่มีกะโหลกศีรษะใหญ่กว่าหมีชนิดอื่นๆ ลักษณะพิเศษ คือ เท้าทั้ง 4 มีนิ้วที่แท้จริงเท่ากับ 5 นิ้ว เท้าหน้าทั้งสองข้างมีนิ้วพิเศษ ซึ่งเป็นนิ้วโป้งเทียมงอกออกมาข้างละ 1 นิ้ว รวมมีนิ้วทั้งหมด 20 นิ้ว นิ้วเทียม 2 นิ้ว และมีหางเหมือนเบาะรองนั่งเวลากินอาหาร หางของหมีแพนด้าสั้นมาก โดยมีความยาวประมาณ 15
หมีแพนด้ามีโครงสร้างของฟันกรามขนาดใหญ่ และกระดูกขากรรไกรที่แข็งแรง และระบบทางเดินอาหารเหมือนพวกสัตว์กินเนื้อ เช่น สุนัขและแมว หมีแพนด้ากินไผ่เป็นอาหารหลัก สามารถกินได้ทั้งลำต้นและใบเป็นอาหารหลักถึง 99 เปอร์เซ็นต์ (โดยเฉพาะหมีแพนด้าที่อาศัยตามธรรมชาติ) เมื่อโตเต็มที่จะสามารถกินไผ่ได้ถึง 15-25 กิโลกรัม แต่หมีแพนด้ายักษ์ที่เลี้ยงในสภาพกรงเลี้ยงจะกินไผ่เป็นอาหารหลักเช่นเดียวกับหมีแพนด้าที่อยู่ตามธรรมชาติ แต่มีความแตกต่างเพียงการให้อาหารเสริม และผลไม้ที่ช่วยในการย่อยได้ง่ายขึ้น และการฝึกหมีแพนด้าให้ปฏิบัติตามคำสั่งโดยการให้ขนมปังนึ่ง และขนมปังอบ แครอทหรือแอปเปิ้ล
ฤดูผสมพันธุ์หมีแพนด้ามีฤดูผสมพันธุ์ปีละ 1 ครั้ง ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ตั้งแต่เดือน มีนาคม – เมษายน หมีแพนด้าเพศผู้ตัวโตเต็มวัยพร้อมผสมพันธุ์อายุ 5.5 -7.5 ปี คุณภาพของน้ำเชื้อเพศผู้ และขนาดของอัณฑะแตกต่างกันตามฤดู คุณภาพของน้ำเชื้อดีที่สุดจะอยู่ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ หมีแพนด้าเพศเมียตัวโตเต็มวัยพร้อมผสมพันธุ์อายุ 5.5 – 6.5 ปี โดยระยะเวลาที่หมีแพนด้ายักษ์จะยอมรับการผสมพันธุ์จะยาวนานเพียง 3 วัน/ปี ในแต่ละปีพฤติกรรมการเป็นสัดของหมีแพนด้าเพศเมียคือ กระสับกระส่าย เบื่ออาหาร กินอาหารลดลง ส่งเสียงร้อง เช่น การร้องแพะมากขึ้น ส่วนการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย ได้แก่ ช่องคลอดบวมแดง และการป้ายกลิ่น
หมีแพนด้ายักษ์ส่วนใหญ่จะสื่อสารกัน โดยการใช้กลิ่นอะซิติค ที่หลั่งออกมาจากต่อมที่อยู่ใกล้ๆ กับบริเวณสืบพันธุ์หรือ โคนหาง โดยจะถูตามต้นไม้ ก้อนหิน และพื้นราบ หรือที่เรียกกันว่า Scent marking นอกจากนี้ยังใช้เล็บขูดต้นไม้ และใช้เสียงในการกำหนดอาณาเขต เช่น การร้องเห่า , การร้องขู่คล้ายสุนัข หรือการใช้เสียงพร้อมที่จะผสมพันธุ์
ในประเทศไทย หมีแพนด้าถูกนำมาเลี้ยงภายในกรงเลี้ยงของสวนสัตว์เชียงใหม่ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2546 จากสาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน 2 ตัว คือหมีแพนด้าเพศเมียชื่อ หลินฮุ่ย เกิดเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2544 และหมีแพนด้าเพศผู้ชื่อ ช่วง ช่วง เกิดเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2543 ภายในสวนสัตว์เชียงใหม่มีกรงเลี้ยงภายในอาคาร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น