nidnoi

วันพุธที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ช่วงช่วง กะ หลินฮุ่ย

ช่วง ช่วง (CHUANG CHUANG)

หมีแพนด้า เพศผู้ อายุ 5 ปี เกิดวันที่ 6 สิงหาคม 2543

พ่อชื่อ ชิงชิง แม่ชื่อ ไป่แฉว บ้านเกิดอยู่ที่ ศูนย์วิจัยและอนุรักษ์หมีแพนด้าประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน

ปัจจุบันน้ำหนัก 150 กิโลกรัม อาศัยอยู่ ณ สวนสัตว์เชียงใหม่ ประเทศไทย

หลินฮุ่ย (LIN HUI)

หมีแพนด้า เพศเมีย อายุ 4 ปี เกิดวันที่ 28 กันยายน 2544

พ่อชื่อ พ่านพ่าน แม่ชื่อ ถาง ถาง บ้านเกิดอยู่ที่ ศูนย์วิจัยและอนุรักษ์หมีแพนด้าประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน

ปัจจุบันน้ำหนัก 110 กิโลกรัม อาศัยอยู่ ณ สวนสัตว์เชียงใหม่ ประเทศไทย

แหล่งที่มา http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/2549/m6-3/no29-39/P9.htm

พฤติกรรมของแพนด้า

แพนด้ามักอยู่ในท่านั่งเวลากินอาหาร ซึ่งคล้ายกับคนนั่ง มันใช้อุ้งเท้าของมันช่วยจับต้นไผ่ในขณะที่กินอาหาร

เวลาส่วนใหญ่ถูกใช้ไปกับการพักผ่อน การกิน และการหาอาหาร งานวิจัยช่วงแรก ทำให้นักวิทยาศาสตร์คิดว่า

แพนด้าเป็นสัตว์ที่ชอบอยู่โดยลำพัง จะพบกันเฉพาะช่วงฤดูกาลผสมพันธุ์เท่านั้น แต่จากงานวิจัยต่อมา

พบว่าแพนด้ามีการอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเล็กๆ โดยแต่ละกลุ่มมีการใช้ถิ่นที่อยู่อาศัยบางบริเวณร่วมกัน

และบางครั้งสมาชิกในกลุ่มหนึ่งออกมาพบสมาชิกในกลุ่มอื่นในช่วงฤดูกาลผสมพันธุ์ อย่างไรก็ตาม คงต้องมีการทำวิจัยต่อไป
แหล่งที่มาhttp://www.thaigoodview.com/library/studentshow/2549/m6-3/no29-39/P7.htm

การสืบพันธุ์

ระยะเวลาผสมพันธุ์อยู่ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งในช่วงเวลานั้น ตัวเมียจะมีความต้องการเพียง 2 ถึง 3 วันเท่านั้น

สิ่งที่ทำให้ตัวผู้และตัวเมียมาพบกันคือ เสียงร้อง หรือสิ่งที่ถูกขับออกมาจากตัวผู้หรือตัวเมียตามจุดต่างๆ

เพื่อดึงดูดเพศตรงข้าม ตัวเมียใช้ระยะตั้งครรภ์ตั้งแต่ 95 ถึง 160 วัน และถึงแม้ว่าแพนด้าตัวเมียสามารถ

ให้กำเนิดลูกแพนด้าฝาแฝดได้ แต่ส่วนใหญ่จะมีลูกแพนด้าเพียงตัวเดียวที่รอดชีวิต เนื่องจากอาหารที่จำกัด

ถ้ายกเว้นสัตว์จำพวกจิงโจ้แล้ว เราถือว่าลูกแพนด้าเป็นลูกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เล็กที่สุด

ลูกแพนด้าที่เกิดใหม่มีน้ำหนักเพียง 4 ถึง 6 ออนซ์เท่านั้น (110 ถึง 170 กรัม) และยังไม่ลืมตา

ลูกแพนด้ามีการเจริญเติบโตที่ช้า จะมีน้ำหนักเท่ากับแพนด้าพ่อ-แม่ของมันเมื่ออายุประมาณ 2 ถึง 4 ปี

ลูกแพนด้าจะอยู่กับแม่จนอายุประมาณ 2 ปี จึงออกไปเผชิญโลกด้วยตัวเอง

เนื่องจาก อายุที่สามารถสืบพันธุ์ได้ของแพนด้าตัวเมีย อยู่ในช่วงประมาณ 6 ถึง 20 ปี

และตัวเมียจะให้กำเนิดลูกอย่างมาก 2 ปี ต่อลูกแพนด้า 1 ตัว

ดังนั้นแพนด้าตัวเมียสามารถให้กำเนิดลูกแพนด้าได้อย่างมากประมาณ 7 ตัว

ในช่วงอายุขัยของมัน ซึ่งถือว่าเป็นอัตราการให้กำเนิดลูกที่น้อยมาก และนี่เป็นเหตุผลว่าทำไมจำนวนแพนด้าที่เกิดใหม

่จึงไม่สามารถทดแทนแพนด้าที่ตายไปจากการถูกล่าได้ การลดจำนวนลงอย่างมากของหมีแพนด้าในระยะเวลาที่ผ่านมา

ทำให้มีการตั้งองค์กรที่ทำหน้าที่อนุรักษ์หมีแพนด้าขึ้น
แหล่งที่มา http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/2549/m6-3/no29-39/P5.htm

โลกส่วนตัวแพนด้า

นิสัยส่วนตัวของเจ้าแพนด้า

รักสันโดษ แพนด้ามักปลีกวิเวก ไม่ชอบสุงสิงกับใครจนได้รับฉายาว่า ‘ผู้สันโดษแห่งป่าไผ่’ มีแค่ช่วงฤดูใบไม้ผลิที่ดอกไม้เบ่งบาน บรรยากาศเป็นใจเท่านั้น ที่เหล่าแพนด้าจึงจะโผล่ออกมาหาคู่
นักปีนป่ายตัวยง เห็นแพนด้าตัวอ้วนตุ๊ต๊ะอย่างนี้ แต่ที่จริงเป็นนักปีนมืออาชีพ นี่เป็นคุณสมบัติที่รับถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษกินเนื้อของมัน ซึ่งมีประโยชน์ในการหลบหนีศัตรู หาอาหาร และอาบแดด
ชอบกินน้ำ แพนด้ามักใช้ชีวิตใกล้แหล่งน้ำ เนื่องจากชอบกินน้ำเป็นชีวิตจิตใจ บางครั้งถึงจะอยู่ไกลแค่ไหน ก็ยังดั้นด้นไปหาน้ำกินตามหุบเขา พอเจอแหล่งน้ำก็จะกินอย่างไม่คิดชีวิต ท่าทางเหมือนจอมยุทธ์นั่งจุ้ยอยู่ริมธาร ดื่มเหล้าหัวราน้ำอย่างนั้นเลย
อาหารต้องไม่ธรรมดา
ก็ไม่ถึงกับอาหารฮ่องเต้หรอกจ๊ะ แต่โดยปกติแพนด้ายักษ์จัดอยู่ในประเภทสัตว์กินเนื้อ แต่ 90% ของอาหารที่มันกินกลับเป็นใบไผ่ เรียกได้ว่าเป็นเกจิไผ่ขนานแท้ เพราะมันกินใบไผ่กว่า 20 ชนิด มันเลือกกินตามฤดูกาลด้วยนะ เนื่องจากแต่ละฤดูใบไผ่ที่ผลิออกมาจากลำต้นส่วนต่างๆจะมีรสชาติแตกต่างกันไป แต่ส่วนที่แพนด้ายักษ์ชอบกินที่สุดคือ หน่อไม้ บางทีก็กินพวกข้าวโพด และตังกุยป่า

บังอรเอาแต่นอน
เนื่องจากแพนด้าเลือกกินใบไผ่ที่ไม่ค่อยมีคุณค่าทางโภชนาการและให้พลังงานน้อย ดังนั้นเพื่อความอยู่รอดจึงต้องจำกัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวลง และพักผ่อนนอนหลับมากๆเพื่อประหยัดพลังงาน โดยใน 1 วัน แพนด้าใช้เวลาไปกับการกินถึง 54.86% ส่วน 43.06% เป็นเวลาพักผ่อน และให้เวลากับการเล่นแค่ 2.08% เท่านั้น
นอกจากนี้ แพนด้ายังไม่กลัวความหนาว ไม่มีนิสัยชอบจำศีลในฤดูหนาวอย่างสัตว์อื่นๆ ในขณะที่อุณหภูมิลดต่ำจนกระทั่งติดลบ 4-14 องศานั้น แพนด้าก็ยังสู้บุกบั่นฝ่าหิมะเข้าป่าไปหาของกินได้ อีกทั้งไม่กลัวความเปียกชื้น โดยตลอดทั้งปีแพนด้าจะใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในป่าดิบชื้น

คู่อริและเพื่อนบ้านที่แสนดี
ศัตรูตัวฉกาจของน้องหมีคงไม่พ้น พวกพี่เสือดาว เจ้าหมาใน และสุนัขจิ้งจอก แต่ส่วนมาก สัตว์เหล่านี้จะเล่นงานลูกแพนด้าและแพนด้าแก่ที่อ่อนแอ เพราะว่าแพนด้าวัยหนุ่มสาวยังไม่ทิ้งสัญชาตญาณของสัตว์กินเนื้อของบรรพบุรุษ ‘เจอศึกไม่ถอยหนี’เหมือนกัน สวนสัตว์บางแห่งก็เคยเกิดกรณีแพนด้าโมโหจนทำร้ายคนมาแล้ว..จะหาว่าแพนด้าไม่เตือน..
ส่วนลิงขนทอง กระทิง ซึ่งมักใช้ชีวิตในละแวกเดียวกันกับแพนด้า แต่ก็มีพื้นที่เป็นของตัวเองไม่ระรานกันนั้น ต่างเป็นมิตรที่ดีของแพนด้า และที่ขาดไม่ได้ก็คือแพนด้าจิ๋ว ที่เป็นเพื่อนซี้ปึกของแพนด้ายักษ์ ถึงแม้จะชอบกินใบไผ่เหมือนกัน แต่แพนด้าทั้งสองพันธุ์ก็มีถิ่นหากินคนละที่ และพอถึงฤดูใบไม้ร่วงแพนด้าจิ๋วก็หันไปกินลูกไม้แทน อย่างนี้ถึงเรียกเป็นมิตรร่วมป่าที่ดีตัวจริง

โรคร้ายทำลายแพนด้า
โรคระบบทางเดินอาหาร - อาเจียน ท้องเสีย ถ่ายเป็นเลือด โรคลำไส้อุดตัน
โรคระบบทางเดินหายใจ - เป็นหวัด และโรคที่ติดต่อทางระบบหายใจ
โรคระบบประสาท - โรคลมบ้าหมู
โรคระบบเลือด - โรคโลหิตจาง
พยาธิ - พยาธิไส้เดือน ตัวไร

<แหล่งที่มา
http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9540000010555

แพนด้าแดง

แพนด้าแดง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ailurus fulgens อยู่ในวงศ์ Ailuridae จัดเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในวงศ์นี้ที่ยังสืบทอดสายพันธุ์อยู่ จึงจัดเป็นซากดึกดำบรรพ์มีชีวิตอยู่ชนิดหนึ่ง[1] และเป็นเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Ailurus[2]
มีรูปร่างหน้าตาคล้ายแรคคูนและกระรอกรวมกัน หัวมีขนาดใหญ่ จมูกแหลม ขาสั้นคล้ายหมี ขนตามลำตัวมีหลากหลาย มีทั้งสีน้ำตาลเข้ม น้ำตาลเหลืองและน้ำตาลแดง ขนบริเวณลำคอยาวและนุ่มฟู หางเป็นพวงยาวคล้ายกับหางของกระรอก มีลายปล้องสีน้ำตาลแดงสลับขาว มีความลำตัวและหัว 51 - 64 เซนติเมตร หางยาว 50 - 63 เซนติเมตร มีน้ำหนัก 3 - 4.5 กิโลกรัม
มีการกระจายพันธุ์พบตามแนวเทือกเขาหิมาลัย ตั้งแต่ภาคเหนือของประเทศอินเดีย, ธิเบต, เนปาล, ภูฏาน, จีน, ภาคเหนือของพม่า และภาคเหนือของประเทศลาวบริเวณที่ติดกับจีน โดยอาศัยอยู่ในป่าที่มีระดับความสูงตั้งแต่ 1,500 - 4,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล
มีพฤติกรรมออกหากินตามลำพัง มักหากินบนต้นไม้ กินอาหารเพียงไม่กี่ประเภท โดยกินเฉพาะใบไม้อ่อนเท่านั้น บางครั้งอาจกินไข่นก สัตว์ขนาดเล็กและผลไม้บางชนิดด้วย ใช้เวลาตอนกลางวันในการนอนหลับพักผ่อน แพนด้าแดงตัวผู้จะหวงอาณาเขตมากและมักเคลื่อนย้ายไปเรื่อย ๆ แต่แพนด้าแดงตัวเมียจะอาศัยอยู่ในพื้นที่ครอบครองของตัวเอง บางครั้งตัวผู้อาจเข้ามาหากินภายในอาณาเขตของตัวเมียด้วย โดยทั่วไปอาณาเขตของแพนด้าแดงตัวผู้จะกว้างประมาณ 1.1 - 9.6 ตารางกิโลเมตร ส่วนอาณาเขตของตัวเมียจะกว้างประมาณ 1.0 - 1.5 ตารางกิโลเมตร ผสมพันธุ์ในช่วงเดือนมกราคม ถึงเดือนกุมภาพันธ์ โดยตัวเมียจะยอมให้ตัวผู้ผสมพันธุ์อยู่เพียง 1 - 3 วันเท่านั้น แม่แพนด้าแดงใช้เวลาตั้งท้องประมาณ 90 - 145 และจะออกลูกในโพรงไม้หรือถ้ำเล็ก ๆ ออกลูกครั้งละ 4 ตัว ลูกที่เกิดใหม่จะยังมองไม่เห็น มีสีขนตามลำตัวออกสีเหลืองอ่อน และจะกินนมแม่อยู่นาน 5 เดือน หลังจากนั้นจึงหย่านมและเปลี่ยนมากินใบไผ่แทน เมื่ออายุได้ 2 ปี ก็จะแยกออกไปหากินตามลำพัง มีข้อสังเกตว่า แพนด้าแดงที่อยู่บริเวณภาคเหนือของอินเดียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวที่อยู่ค่อนมาทางเอเชียตะวันออก ซึ่งเป็นชนิดย่อยที่แยกออกไป สถานะปัจจุบันของแพนด้าแดงในสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) จัดให้อยู่ในสถานะ DD (Data Defficient) หมายถึง มีข้อมูลไม่เพียงพอในการประเมินความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์
สำหรับในประเทศไทย สวนสัตว์พาต้าเคยนำเข้ามาเลี้ยงในสวนสัตว์ครั้งหนึ่ง โดยให้อยู่ในห้องปรับอากาศ

แหล่งที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%87

วันศุกร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2555

ท่องโลกกว้าง-แพนด้าน้อยฟู่หลง

แหล่งที่มา http://www.youtube.com/watch?v=dCYiGFFmf0I&feature=related

หลินปิง

หลินปิง (จีน: 林冰) เป็นแพนด้ายักษ์เพศเมียในสวนสัตว์เชียงใหม่ เกิดเมื่อวันพุธที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 จากการผสมเทียม ระหว่างช่วงช่วงและหลินฮุ่ย [1][2] นับเป็นแพนด้าตัวแรกของโลกที่เกิดในประเทศเขตศูนย์สูตร ในเดือนนอกฤดูผสมพันธุ์ของหมีแพนด้า[3]
หลินปิง เป็นชื่อที่ได้รับการลงคะแนนเป็นอันดับ 1 โดยคนไทย ทางจดหมายและไปรษณียบัตร ถึง 13 ล้านฉบับ จาก 4 ชื่อ (อันดับ 2 “ขวัญไทย” 3.5 ล้านฉบับ อันดับ 3 “ไทจีน” 2.5 ล้านฉบับ อันดับ 4 “หญิงหญิง” 2 ล้านฉบับ)[4]
ประวัติ


ความพยายามของสัตวแพทย์ไทย
หลินฮุ่ยและช่วงช่วง สวนสัตว์เชียงใหม่หลังจากที่ประเทศไทยได้รับช่วงช่วงและหลินฮุ่ยในฐานะทูตสันถวไมตรีระหว่างไทยและจีน มาอยู่ที่สวนสัตว์เชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2546 องค์กรได้ทำการดูและคู่หมีแพนด้าให้มีคุณภาพที่ดีเป็นเวลา 3 ปี ทางสวนสัตว์ฯ เริ่มพยายามให้คู่แพนด้าได้มีโอกาศผสมพันธุ์เองตามธรรมชาติด้วยการทำให้สิ่งแวดล้อมภายในบริเวณที่เลี้ยงมีบรรยากาศเหมือนธรรมชาติ บริเวณด้านหลังสามารถแยกหมีให้อยู่ตัวเดียวหรือเป็นคู่ได้ ส่วนด้านจัดแสดงด้านหน้า แบ่งพื้นที่ให้ทั้สองคิดถึงกันมากที่สุด หลินฮุ่นแสดงอาการเป็นสัดครั้งแรกราววันที่ 16-19 มกราคม พ.ศ. 2549 โดยส่งเสียงร้องคล้ายเสียงแพะ เดินวนกระสับกระส่าย ป้ายกลิ่นตามที่ต่าง ๆ ยกหางและเดินถอยหลังเข้าหาช่วงช่วง แต่ช่วงช่วงแสดงพฤติกรรมคล้ายการขึ้นผสมพันธุ์เท่านั้น[5] แต่ก็ล้มเหลว ต้องรอลุ้นปีถัดไป ต่อมาปลายเดือนมีนาคม พ.ศ. 2550 หลินฮุ่ยแสดงอาการเป็นสัดครั้งที่ 2 ทางทีมงานหากลยุทธ์หลากหลาย อย่างให้ช่วงช่วงดูวิดีโอโป๊เพื่อกระตุ้นพฤติกรรมสืบพันธุ์ ตามคำแนะนำของประเทศจีนและอื่น ๆ หรือการกั้นคอกแยกเพื่อเลียนแบบพฤติกรรมทางธรรมชาติที่มักแยกกันอยู่ตามลำพัง และเปิดให้ทั้งคู่อยู่ด้วยกันเฉพาะช่วงที่หลินฮุ่ยเป็นสัด แต่ผลก็ไม่เป็นที่น่าพอใจ
เดือนเมษายน พ.ศ. 2550 มีการรวมตัวคณะทำงานเฉพาะกิจ ที่มีทีมงานจากหลายฝ่ายทั้งทีมงานของสวนสัตว์เชียงใหม่ ทีมจากส่วนวิชาการ องค์การสวนสัตว์ ทีมงานวิจัยของโครงการวิจัยและจัดแสดงหมีแพนด้า ทีมงานคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ข้อมูลการตัดสินใจที่สำคัญที่สุดคือข้อมูลจากห้องปฏิบัติการฮอร์โมน ที่ทำงานต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง ต่อมาวันที่ 1 เมษายน หลินฮุ่ยตกไข่ ทีมงานปล่อยให้ช่วงช่วงเข้าผสมกับหลินฮุ่ยแต่ไม่สำเร็จ จึงดำเนินการผสมเทียมในวันถัดมา ช่วงช่วงถูกวางสลบในไม่กี่ชั่วโมง การผสมเทียมครั้งแรกนี้มีผู้เชี่ยวชาญจากประเทศจีนมาช่วยเหลือทีมงาน[6] แต่น่าเสียดายว่า หลินฮุ่ยเกิดภาวะตั้งท้องเทียม ที่เป็นเรื่องทั่วไปที่เกิดขึ้นได้เป็นปกติในสัตว์หลายชนิด
เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 หลังจากนั้นเริ่มเข้าฤดูผสมพันธุ์ของหลินฮุ่ยอีกครั้ง ทั้งสิ่งเปลี่ยนแปลงเรื่องระดับฮอร์โมนและพฤติกรรม ทางทีมงานร่วม 30 ชีวิตวางแผนการทำงานแบบละเอียด ทั้งแผนปฏิบัติการรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน ตั้งแต่ผสมพันธุ์จนถึงคลอด หลังจากพิจารณาระดับฮอร์โมนที่ขึ้นถึงสูงสุดและเริ่มลดระดับลงอย่าฮวบฮาบ เป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าหลินฮุ่นมีไข่ตกจากรังไข่แน่นอน ทางทีมงานเริ่มวางยาสลบช่วงช่วง ได้น้ำเชื้อคุณภาพเยี่ยมมากพอเพียงสำหรับการผสมเทียมถึง 2 ครั้ง จากนั้นสู่กระบวนการพาตัวอสุจิของช่วงช่วงไปเจอกับไข่ของหลินฮุ่ยเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 จากนั้นเริ่มสังเกตพฤติกรรม การตรวจฮอร์โมนจากฉี่ทุกวัน หากตั้งท้องฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่รังไข่จะผลิตออกมา สองเดือนหลังวันผสมเทียม พบว่าพฤติกรรมหลินฮุ่ยเปลี่ยนไป กินอาหารมากขึ้น ท้องและเต้านมขยายใหญ่ นอนเก่งกว่าเดิม รวมทั้งผลตรวจฮอร์โมนเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ[7]
[แก้] เกิด
ผู้เชี่ยวชาญจากประเทศจีน กำลังตรวจสุขภาพให้หลินปิง27 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 หลังจากเจ้าหน้าที่สังเกตพบพฤติกรรมผิดปรกติของหลินฮุ่ยที่แสดงอาการกระวนกระวาย เดินไปมา เลียบริเวณอวัยวะเพศถี่มากขึ้นหลังเที่ยงคืนวันที่ 26 จึงติดต่อไปที่ศูนย์วิจัยแพนด้า ประเทศจีน ปรึกษาจากผู้รู้ จึงได้รับคำตอบว่า หลินฮุ่ยกำลังจะคลอด คำยืนยันทำให้ทีมงานตื่นเต้นและกระวนกระวายอย่างมาก แพนด้าน้อยคลอดออกมา โดยถูกบันทึกภาพด้วยกล้องวิดีโอของทีมงานสวนสัตว์ฯ หลังจากอุ้มท้อง 97 วัน มีน้ำหนักแรกเกิด 235 กรัม[8]
[แก้] การตั้งชื่อมีการจัดประกวดตั้งชื่อแพนด้าน้อย โดยคณะกรรมการองค์การสวนสัตว์ฯจะเป็นผู้รวบรวมชื่อคัดเลือกให้เหลือ เพียง 4 ชื่อ จากนั้นจะเปิดโอกาสให้ประชาชนลงคะแนนผ่านทางไปรษณียบัตร โดยหลินปิง เป็นชื่อที่ได้รับการลงคะแนนเป็นอันดับ 1 โดยคนไทย ทางจดหมายและไปรษณียบัตร ถึง 13 ล้านฉบับ จาก 4 ชื่อ (อันดับ 2 “ขวัญไทย” 3.5 ล้านฉบับ อันดับ 3 “ไทจีน” 2.5 ล้านฉบับ อันดับ 4 “หญิงหญิง” 2 ล้านฉบับ) โดยหลินปิง มีความหมายว่า ป่าเมืองหนาว หรือป่าแห่งสายน้ำปิง
[แก้] สิ่งสืบเนื่อง
ช้างจาก วังช้างอยุธยา แล เพนียด ถูกทาสีจนมีหน้าตาละม้ายคล้ายหมีแพนด้านับตั้งแต่แพนด้าน้อย หลินปิง เกิดมา สื่อต่าง ๆ ทุกสื่อ หนังสือพิมพ์ทุกฉบับต่างลงหน้าหนึ่ง ออกรายการโทรทัศน์ทุกช่อง มีการถ่ายทอดสดในลักษณะเรียลลิตี้ผ่านเครือข่ายโทรทัศน์วงจรปิดในสวนสัตว์และอินเทอร์เน็ต ยังส่งผลให้การท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่กลับมาคึกคักอีกครั้งหลังสถานการณ์การเมือง รายรับของสวนสัตว์เชียงใหม่หลังจากแพนด้านน้อยเกิด คาดว่ามีรายได้เพิ่มขึ้น รวมมีรายได้ปีละ 208 ล้านบาท[9]
26 มิถุนายน พ.ศ. 2552 มีช้างพลาย 3 ตัวจากวังช้างอยุธยา แล เพนียด ถูกทาสีจนมีหน้าตาละม้ายคล้ายหมีแพนด้า ออกเดินเรียกร้องความสนใจจากประชาชน จนกลายเป็นข่าวหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ทุกฉบับในเช้าวันรุ่งขึ้น "ผลพลอยได้ครั้งนี้คือ พูดในสิ่งที่คนไทยบางคนคิดอยู่ในใจออกมาดัง ๆ"[9] หรือแม้แต่สุนัขที่มีสีขนคล้ายหมีแพนด้า ของแม่ค้าขายข้าวแกงจังหวัดเชียงราย ยังถูกสื่อมวลชนนำเสนอข่าว ก่อนปิดรับไปรษณียบัตรทายชื่อแพนด้าน้อย
ต่อมามีรายการเรียลลิตี้ที่นำเสนอชีวิตครอบครัวหมีแพนด้าทั้ง “หลินปิง” ทางสื่อโทรทัศน์ในช่องทรูวิชั่นส์ตลอด 24 ชั่วโมง ในช่องแพนด้าแชนแนล เริ่มออกฉายวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552[10]
แหล่งที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%aB4%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%87