nidnoi

วันพุธที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ช่วงช่วง กะ หลินฮุ่ย

ช่วง ช่วง (CHUANG CHUANG)

หมีแพนด้า เพศผู้ อายุ 5 ปี เกิดวันที่ 6 สิงหาคม 2543

พ่อชื่อ ชิงชิง แม่ชื่อ ไป่แฉว บ้านเกิดอยู่ที่ ศูนย์วิจัยและอนุรักษ์หมีแพนด้าประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน

ปัจจุบันน้ำหนัก 150 กิโลกรัม อาศัยอยู่ ณ สวนสัตว์เชียงใหม่ ประเทศไทย

หลินฮุ่ย (LIN HUI)

หมีแพนด้า เพศเมีย อายุ 4 ปี เกิดวันที่ 28 กันยายน 2544

พ่อชื่อ พ่านพ่าน แม่ชื่อ ถาง ถาง บ้านเกิดอยู่ที่ ศูนย์วิจัยและอนุรักษ์หมีแพนด้าประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน

ปัจจุบันน้ำหนัก 110 กิโลกรัม อาศัยอยู่ ณ สวนสัตว์เชียงใหม่ ประเทศไทย

แหล่งที่มา http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/2549/m6-3/no29-39/P9.htm

พฤติกรรมของแพนด้า

แพนด้ามักอยู่ในท่านั่งเวลากินอาหาร ซึ่งคล้ายกับคนนั่ง มันใช้อุ้งเท้าของมันช่วยจับต้นไผ่ในขณะที่กินอาหาร

เวลาส่วนใหญ่ถูกใช้ไปกับการพักผ่อน การกิน และการหาอาหาร งานวิจัยช่วงแรก ทำให้นักวิทยาศาสตร์คิดว่า

แพนด้าเป็นสัตว์ที่ชอบอยู่โดยลำพัง จะพบกันเฉพาะช่วงฤดูกาลผสมพันธุ์เท่านั้น แต่จากงานวิจัยต่อมา

พบว่าแพนด้ามีการอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเล็กๆ โดยแต่ละกลุ่มมีการใช้ถิ่นที่อยู่อาศัยบางบริเวณร่วมกัน

และบางครั้งสมาชิกในกลุ่มหนึ่งออกมาพบสมาชิกในกลุ่มอื่นในช่วงฤดูกาลผสมพันธุ์ อย่างไรก็ตาม คงต้องมีการทำวิจัยต่อไป
แหล่งที่มาhttp://www.thaigoodview.com/library/studentshow/2549/m6-3/no29-39/P7.htm

การสืบพันธุ์

ระยะเวลาผสมพันธุ์อยู่ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งในช่วงเวลานั้น ตัวเมียจะมีความต้องการเพียง 2 ถึง 3 วันเท่านั้น

สิ่งที่ทำให้ตัวผู้และตัวเมียมาพบกันคือ เสียงร้อง หรือสิ่งที่ถูกขับออกมาจากตัวผู้หรือตัวเมียตามจุดต่างๆ

เพื่อดึงดูดเพศตรงข้าม ตัวเมียใช้ระยะตั้งครรภ์ตั้งแต่ 95 ถึง 160 วัน และถึงแม้ว่าแพนด้าตัวเมียสามารถ

ให้กำเนิดลูกแพนด้าฝาแฝดได้ แต่ส่วนใหญ่จะมีลูกแพนด้าเพียงตัวเดียวที่รอดชีวิต เนื่องจากอาหารที่จำกัด

ถ้ายกเว้นสัตว์จำพวกจิงโจ้แล้ว เราถือว่าลูกแพนด้าเป็นลูกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เล็กที่สุด

ลูกแพนด้าที่เกิดใหม่มีน้ำหนักเพียง 4 ถึง 6 ออนซ์เท่านั้น (110 ถึง 170 กรัม) และยังไม่ลืมตา

ลูกแพนด้ามีการเจริญเติบโตที่ช้า จะมีน้ำหนักเท่ากับแพนด้าพ่อ-แม่ของมันเมื่ออายุประมาณ 2 ถึง 4 ปี

ลูกแพนด้าจะอยู่กับแม่จนอายุประมาณ 2 ปี จึงออกไปเผชิญโลกด้วยตัวเอง

เนื่องจาก อายุที่สามารถสืบพันธุ์ได้ของแพนด้าตัวเมีย อยู่ในช่วงประมาณ 6 ถึง 20 ปี

และตัวเมียจะให้กำเนิดลูกอย่างมาก 2 ปี ต่อลูกแพนด้า 1 ตัว

ดังนั้นแพนด้าตัวเมียสามารถให้กำเนิดลูกแพนด้าได้อย่างมากประมาณ 7 ตัว

ในช่วงอายุขัยของมัน ซึ่งถือว่าเป็นอัตราการให้กำเนิดลูกที่น้อยมาก และนี่เป็นเหตุผลว่าทำไมจำนวนแพนด้าที่เกิดใหม

่จึงไม่สามารถทดแทนแพนด้าที่ตายไปจากการถูกล่าได้ การลดจำนวนลงอย่างมากของหมีแพนด้าในระยะเวลาที่ผ่านมา

ทำให้มีการตั้งองค์กรที่ทำหน้าที่อนุรักษ์หมีแพนด้าขึ้น
แหล่งที่มา http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/2549/m6-3/no29-39/P5.htm

โลกส่วนตัวแพนด้า

นิสัยส่วนตัวของเจ้าแพนด้า

รักสันโดษ แพนด้ามักปลีกวิเวก ไม่ชอบสุงสิงกับใครจนได้รับฉายาว่า ‘ผู้สันโดษแห่งป่าไผ่’ มีแค่ช่วงฤดูใบไม้ผลิที่ดอกไม้เบ่งบาน บรรยากาศเป็นใจเท่านั้น ที่เหล่าแพนด้าจึงจะโผล่ออกมาหาคู่
นักปีนป่ายตัวยง เห็นแพนด้าตัวอ้วนตุ๊ต๊ะอย่างนี้ แต่ที่จริงเป็นนักปีนมืออาชีพ นี่เป็นคุณสมบัติที่รับถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษกินเนื้อของมัน ซึ่งมีประโยชน์ในการหลบหนีศัตรู หาอาหาร และอาบแดด
ชอบกินน้ำ แพนด้ามักใช้ชีวิตใกล้แหล่งน้ำ เนื่องจากชอบกินน้ำเป็นชีวิตจิตใจ บางครั้งถึงจะอยู่ไกลแค่ไหน ก็ยังดั้นด้นไปหาน้ำกินตามหุบเขา พอเจอแหล่งน้ำก็จะกินอย่างไม่คิดชีวิต ท่าทางเหมือนจอมยุทธ์นั่งจุ้ยอยู่ริมธาร ดื่มเหล้าหัวราน้ำอย่างนั้นเลย
อาหารต้องไม่ธรรมดา
ก็ไม่ถึงกับอาหารฮ่องเต้หรอกจ๊ะ แต่โดยปกติแพนด้ายักษ์จัดอยู่ในประเภทสัตว์กินเนื้อ แต่ 90% ของอาหารที่มันกินกลับเป็นใบไผ่ เรียกได้ว่าเป็นเกจิไผ่ขนานแท้ เพราะมันกินใบไผ่กว่า 20 ชนิด มันเลือกกินตามฤดูกาลด้วยนะ เนื่องจากแต่ละฤดูใบไผ่ที่ผลิออกมาจากลำต้นส่วนต่างๆจะมีรสชาติแตกต่างกันไป แต่ส่วนที่แพนด้ายักษ์ชอบกินที่สุดคือ หน่อไม้ บางทีก็กินพวกข้าวโพด และตังกุยป่า

บังอรเอาแต่นอน
เนื่องจากแพนด้าเลือกกินใบไผ่ที่ไม่ค่อยมีคุณค่าทางโภชนาการและให้พลังงานน้อย ดังนั้นเพื่อความอยู่รอดจึงต้องจำกัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวลง และพักผ่อนนอนหลับมากๆเพื่อประหยัดพลังงาน โดยใน 1 วัน แพนด้าใช้เวลาไปกับการกินถึง 54.86% ส่วน 43.06% เป็นเวลาพักผ่อน และให้เวลากับการเล่นแค่ 2.08% เท่านั้น
นอกจากนี้ แพนด้ายังไม่กลัวความหนาว ไม่มีนิสัยชอบจำศีลในฤดูหนาวอย่างสัตว์อื่นๆ ในขณะที่อุณหภูมิลดต่ำจนกระทั่งติดลบ 4-14 องศานั้น แพนด้าก็ยังสู้บุกบั่นฝ่าหิมะเข้าป่าไปหาของกินได้ อีกทั้งไม่กลัวความเปียกชื้น โดยตลอดทั้งปีแพนด้าจะใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในป่าดิบชื้น

คู่อริและเพื่อนบ้านที่แสนดี
ศัตรูตัวฉกาจของน้องหมีคงไม่พ้น พวกพี่เสือดาว เจ้าหมาใน และสุนัขจิ้งจอก แต่ส่วนมาก สัตว์เหล่านี้จะเล่นงานลูกแพนด้าและแพนด้าแก่ที่อ่อนแอ เพราะว่าแพนด้าวัยหนุ่มสาวยังไม่ทิ้งสัญชาตญาณของสัตว์กินเนื้อของบรรพบุรุษ ‘เจอศึกไม่ถอยหนี’เหมือนกัน สวนสัตว์บางแห่งก็เคยเกิดกรณีแพนด้าโมโหจนทำร้ายคนมาแล้ว..จะหาว่าแพนด้าไม่เตือน..
ส่วนลิงขนทอง กระทิง ซึ่งมักใช้ชีวิตในละแวกเดียวกันกับแพนด้า แต่ก็มีพื้นที่เป็นของตัวเองไม่ระรานกันนั้น ต่างเป็นมิตรที่ดีของแพนด้า และที่ขาดไม่ได้ก็คือแพนด้าจิ๋ว ที่เป็นเพื่อนซี้ปึกของแพนด้ายักษ์ ถึงแม้จะชอบกินใบไผ่เหมือนกัน แต่แพนด้าทั้งสองพันธุ์ก็มีถิ่นหากินคนละที่ และพอถึงฤดูใบไม้ร่วงแพนด้าจิ๋วก็หันไปกินลูกไม้แทน อย่างนี้ถึงเรียกเป็นมิตรร่วมป่าที่ดีตัวจริง

โรคร้ายทำลายแพนด้า
โรคระบบทางเดินอาหาร - อาเจียน ท้องเสีย ถ่ายเป็นเลือด โรคลำไส้อุดตัน
โรคระบบทางเดินหายใจ - เป็นหวัด และโรคที่ติดต่อทางระบบหายใจ
โรคระบบประสาท - โรคลมบ้าหมู
โรคระบบเลือด - โรคโลหิตจาง
พยาธิ - พยาธิไส้เดือน ตัวไร

<แหล่งที่มา
http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9540000010555

แพนด้าแดง

แพนด้าแดง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ailurus fulgens อยู่ในวงศ์ Ailuridae จัดเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในวงศ์นี้ที่ยังสืบทอดสายพันธุ์อยู่ จึงจัดเป็นซากดึกดำบรรพ์มีชีวิตอยู่ชนิดหนึ่ง[1] และเป็นเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Ailurus[2]
มีรูปร่างหน้าตาคล้ายแรคคูนและกระรอกรวมกัน หัวมีขนาดใหญ่ จมูกแหลม ขาสั้นคล้ายหมี ขนตามลำตัวมีหลากหลาย มีทั้งสีน้ำตาลเข้ม น้ำตาลเหลืองและน้ำตาลแดง ขนบริเวณลำคอยาวและนุ่มฟู หางเป็นพวงยาวคล้ายกับหางของกระรอก มีลายปล้องสีน้ำตาลแดงสลับขาว มีความลำตัวและหัว 51 - 64 เซนติเมตร หางยาว 50 - 63 เซนติเมตร มีน้ำหนัก 3 - 4.5 กิโลกรัม
มีการกระจายพันธุ์พบตามแนวเทือกเขาหิมาลัย ตั้งแต่ภาคเหนือของประเทศอินเดีย, ธิเบต, เนปาล, ภูฏาน, จีน, ภาคเหนือของพม่า และภาคเหนือของประเทศลาวบริเวณที่ติดกับจีน โดยอาศัยอยู่ในป่าที่มีระดับความสูงตั้งแต่ 1,500 - 4,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล
มีพฤติกรรมออกหากินตามลำพัง มักหากินบนต้นไม้ กินอาหารเพียงไม่กี่ประเภท โดยกินเฉพาะใบไม้อ่อนเท่านั้น บางครั้งอาจกินไข่นก สัตว์ขนาดเล็กและผลไม้บางชนิดด้วย ใช้เวลาตอนกลางวันในการนอนหลับพักผ่อน แพนด้าแดงตัวผู้จะหวงอาณาเขตมากและมักเคลื่อนย้ายไปเรื่อย ๆ แต่แพนด้าแดงตัวเมียจะอาศัยอยู่ในพื้นที่ครอบครองของตัวเอง บางครั้งตัวผู้อาจเข้ามาหากินภายในอาณาเขตของตัวเมียด้วย โดยทั่วไปอาณาเขตของแพนด้าแดงตัวผู้จะกว้างประมาณ 1.1 - 9.6 ตารางกิโลเมตร ส่วนอาณาเขตของตัวเมียจะกว้างประมาณ 1.0 - 1.5 ตารางกิโลเมตร ผสมพันธุ์ในช่วงเดือนมกราคม ถึงเดือนกุมภาพันธ์ โดยตัวเมียจะยอมให้ตัวผู้ผสมพันธุ์อยู่เพียง 1 - 3 วันเท่านั้น แม่แพนด้าแดงใช้เวลาตั้งท้องประมาณ 90 - 145 และจะออกลูกในโพรงไม้หรือถ้ำเล็ก ๆ ออกลูกครั้งละ 4 ตัว ลูกที่เกิดใหม่จะยังมองไม่เห็น มีสีขนตามลำตัวออกสีเหลืองอ่อน และจะกินนมแม่อยู่นาน 5 เดือน หลังจากนั้นจึงหย่านมและเปลี่ยนมากินใบไผ่แทน เมื่ออายุได้ 2 ปี ก็จะแยกออกไปหากินตามลำพัง มีข้อสังเกตว่า แพนด้าแดงที่อยู่บริเวณภาคเหนือของอินเดียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวที่อยู่ค่อนมาทางเอเชียตะวันออก ซึ่งเป็นชนิดย่อยที่แยกออกไป สถานะปัจจุบันของแพนด้าแดงในสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) จัดให้อยู่ในสถานะ DD (Data Defficient) หมายถึง มีข้อมูลไม่เพียงพอในการประเมินความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์
สำหรับในประเทศไทย สวนสัตว์พาต้าเคยนำเข้ามาเลี้ยงในสวนสัตว์ครั้งหนึ่ง โดยให้อยู่ในห้องปรับอากาศ

แหล่งที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%87

วันศุกร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2555

ท่องโลกกว้าง-แพนด้าน้อยฟู่หลง

แหล่งที่มา http://www.youtube.com/watch?v=dCYiGFFmf0I&feature=related

หลินปิง

หลินปิง (จีน: 林冰) เป็นแพนด้ายักษ์เพศเมียในสวนสัตว์เชียงใหม่ เกิดเมื่อวันพุธที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 จากการผสมเทียม ระหว่างช่วงช่วงและหลินฮุ่ย [1][2] นับเป็นแพนด้าตัวแรกของโลกที่เกิดในประเทศเขตศูนย์สูตร ในเดือนนอกฤดูผสมพันธุ์ของหมีแพนด้า[3]
หลินปิง เป็นชื่อที่ได้รับการลงคะแนนเป็นอันดับ 1 โดยคนไทย ทางจดหมายและไปรษณียบัตร ถึง 13 ล้านฉบับ จาก 4 ชื่อ (อันดับ 2 “ขวัญไทย” 3.5 ล้านฉบับ อันดับ 3 “ไทจีน” 2.5 ล้านฉบับ อันดับ 4 “หญิงหญิง” 2 ล้านฉบับ)[4]
ประวัติ


ความพยายามของสัตวแพทย์ไทย
หลินฮุ่ยและช่วงช่วง สวนสัตว์เชียงใหม่หลังจากที่ประเทศไทยได้รับช่วงช่วงและหลินฮุ่ยในฐานะทูตสันถวไมตรีระหว่างไทยและจีน มาอยู่ที่สวนสัตว์เชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2546 องค์กรได้ทำการดูและคู่หมีแพนด้าให้มีคุณภาพที่ดีเป็นเวลา 3 ปี ทางสวนสัตว์ฯ เริ่มพยายามให้คู่แพนด้าได้มีโอกาศผสมพันธุ์เองตามธรรมชาติด้วยการทำให้สิ่งแวดล้อมภายในบริเวณที่เลี้ยงมีบรรยากาศเหมือนธรรมชาติ บริเวณด้านหลังสามารถแยกหมีให้อยู่ตัวเดียวหรือเป็นคู่ได้ ส่วนด้านจัดแสดงด้านหน้า แบ่งพื้นที่ให้ทั้สองคิดถึงกันมากที่สุด หลินฮุ่นแสดงอาการเป็นสัดครั้งแรกราววันที่ 16-19 มกราคม พ.ศ. 2549 โดยส่งเสียงร้องคล้ายเสียงแพะ เดินวนกระสับกระส่าย ป้ายกลิ่นตามที่ต่าง ๆ ยกหางและเดินถอยหลังเข้าหาช่วงช่วง แต่ช่วงช่วงแสดงพฤติกรรมคล้ายการขึ้นผสมพันธุ์เท่านั้น[5] แต่ก็ล้มเหลว ต้องรอลุ้นปีถัดไป ต่อมาปลายเดือนมีนาคม พ.ศ. 2550 หลินฮุ่ยแสดงอาการเป็นสัดครั้งที่ 2 ทางทีมงานหากลยุทธ์หลากหลาย อย่างให้ช่วงช่วงดูวิดีโอโป๊เพื่อกระตุ้นพฤติกรรมสืบพันธุ์ ตามคำแนะนำของประเทศจีนและอื่น ๆ หรือการกั้นคอกแยกเพื่อเลียนแบบพฤติกรรมทางธรรมชาติที่มักแยกกันอยู่ตามลำพัง และเปิดให้ทั้งคู่อยู่ด้วยกันเฉพาะช่วงที่หลินฮุ่ยเป็นสัด แต่ผลก็ไม่เป็นที่น่าพอใจ
เดือนเมษายน พ.ศ. 2550 มีการรวมตัวคณะทำงานเฉพาะกิจ ที่มีทีมงานจากหลายฝ่ายทั้งทีมงานของสวนสัตว์เชียงใหม่ ทีมจากส่วนวิชาการ องค์การสวนสัตว์ ทีมงานวิจัยของโครงการวิจัยและจัดแสดงหมีแพนด้า ทีมงานคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ข้อมูลการตัดสินใจที่สำคัญที่สุดคือข้อมูลจากห้องปฏิบัติการฮอร์โมน ที่ทำงานต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง ต่อมาวันที่ 1 เมษายน หลินฮุ่ยตกไข่ ทีมงานปล่อยให้ช่วงช่วงเข้าผสมกับหลินฮุ่ยแต่ไม่สำเร็จ จึงดำเนินการผสมเทียมในวันถัดมา ช่วงช่วงถูกวางสลบในไม่กี่ชั่วโมง การผสมเทียมครั้งแรกนี้มีผู้เชี่ยวชาญจากประเทศจีนมาช่วยเหลือทีมงาน[6] แต่น่าเสียดายว่า หลินฮุ่ยเกิดภาวะตั้งท้องเทียม ที่เป็นเรื่องทั่วไปที่เกิดขึ้นได้เป็นปกติในสัตว์หลายชนิด
เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 หลังจากนั้นเริ่มเข้าฤดูผสมพันธุ์ของหลินฮุ่ยอีกครั้ง ทั้งสิ่งเปลี่ยนแปลงเรื่องระดับฮอร์โมนและพฤติกรรม ทางทีมงานร่วม 30 ชีวิตวางแผนการทำงานแบบละเอียด ทั้งแผนปฏิบัติการรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน ตั้งแต่ผสมพันธุ์จนถึงคลอด หลังจากพิจารณาระดับฮอร์โมนที่ขึ้นถึงสูงสุดและเริ่มลดระดับลงอย่าฮวบฮาบ เป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าหลินฮุ่นมีไข่ตกจากรังไข่แน่นอน ทางทีมงานเริ่มวางยาสลบช่วงช่วง ได้น้ำเชื้อคุณภาพเยี่ยมมากพอเพียงสำหรับการผสมเทียมถึง 2 ครั้ง จากนั้นสู่กระบวนการพาตัวอสุจิของช่วงช่วงไปเจอกับไข่ของหลินฮุ่ยเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 จากนั้นเริ่มสังเกตพฤติกรรม การตรวจฮอร์โมนจากฉี่ทุกวัน หากตั้งท้องฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่รังไข่จะผลิตออกมา สองเดือนหลังวันผสมเทียม พบว่าพฤติกรรมหลินฮุ่ยเปลี่ยนไป กินอาหารมากขึ้น ท้องและเต้านมขยายใหญ่ นอนเก่งกว่าเดิม รวมทั้งผลตรวจฮอร์โมนเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ[7]
[แก้] เกิด
ผู้เชี่ยวชาญจากประเทศจีน กำลังตรวจสุขภาพให้หลินปิง27 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 หลังจากเจ้าหน้าที่สังเกตพบพฤติกรรมผิดปรกติของหลินฮุ่ยที่แสดงอาการกระวนกระวาย เดินไปมา เลียบริเวณอวัยวะเพศถี่มากขึ้นหลังเที่ยงคืนวันที่ 26 จึงติดต่อไปที่ศูนย์วิจัยแพนด้า ประเทศจีน ปรึกษาจากผู้รู้ จึงได้รับคำตอบว่า หลินฮุ่ยกำลังจะคลอด คำยืนยันทำให้ทีมงานตื่นเต้นและกระวนกระวายอย่างมาก แพนด้าน้อยคลอดออกมา โดยถูกบันทึกภาพด้วยกล้องวิดีโอของทีมงานสวนสัตว์ฯ หลังจากอุ้มท้อง 97 วัน มีน้ำหนักแรกเกิด 235 กรัม[8]
[แก้] การตั้งชื่อมีการจัดประกวดตั้งชื่อแพนด้าน้อย โดยคณะกรรมการองค์การสวนสัตว์ฯจะเป็นผู้รวบรวมชื่อคัดเลือกให้เหลือ เพียง 4 ชื่อ จากนั้นจะเปิดโอกาสให้ประชาชนลงคะแนนผ่านทางไปรษณียบัตร โดยหลินปิง เป็นชื่อที่ได้รับการลงคะแนนเป็นอันดับ 1 โดยคนไทย ทางจดหมายและไปรษณียบัตร ถึง 13 ล้านฉบับ จาก 4 ชื่อ (อันดับ 2 “ขวัญไทย” 3.5 ล้านฉบับ อันดับ 3 “ไทจีน” 2.5 ล้านฉบับ อันดับ 4 “หญิงหญิง” 2 ล้านฉบับ) โดยหลินปิง มีความหมายว่า ป่าเมืองหนาว หรือป่าแห่งสายน้ำปิง
[แก้] สิ่งสืบเนื่อง
ช้างจาก วังช้างอยุธยา แล เพนียด ถูกทาสีจนมีหน้าตาละม้ายคล้ายหมีแพนด้านับตั้งแต่แพนด้าน้อย หลินปิง เกิดมา สื่อต่าง ๆ ทุกสื่อ หนังสือพิมพ์ทุกฉบับต่างลงหน้าหนึ่ง ออกรายการโทรทัศน์ทุกช่อง มีการถ่ายทอดสดในลักษณะเรียลลิตี้ผ่านเครือข่ายโทรทัศน์วงจรปิดในสวนสัตว์และอินเทอร์เน็ต ยังส่งผลให้การท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่กลับมาคึกคักอีกครั้งหลังสถานการณ์การเมือง รายรับของสวนสัตว์เชียงใหม่หลังจากแพนด้านน้อยเกิด คาดว่ามีรายได้เพิ่มขึ้น รวมมีรายได้ปีละ 208 ล้านบาท[9]
26 มิถุนายน พ.ศ. 2552 มีช้างพลาย 3 ตัวจากวังช้างอยุธยา แล เพนียด ถูกทาสีจนมีหน้าตาละม้ายคล้ายหมีแพนด้า ออกเดินเรียกร้องความสนใจจากประชาชน จนกลายเป็นข่าวหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ทุกฉบับในเช้าวันรุ่งขึ้น "ผลพลอยได้ครั้งนี้คือ พูดในสิ่งที่คนไทยบางคนคิดอยู่ในใจออกมาดัง ๆ"[9] หรือแม้แต่สุนัขที่มีสีขนคล้ายหมีแพนด้า ของแม่ค้าขายข้าวแกงจังหวัดเชียงราย ยังถูกสื่อมวลชนนำเสนอข่าว ก่อนปิดรับไปรษณียบัตรทายชื่อแพนด้าน้อย
ต่อมามีรายการเรียลลิตี้ที่นำเสนอชีวิตครอบครัวหมีแพนด้าทั้ง “หลินปิง” ทางสื่อโทรทัศน์ในช่องทรูวิชั่นส์ตลอด 24 ชั่วโมง ในช่องแพนด้าแชนแนล เริ่มออกฉายวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552[10]
แหล่งที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%aB4%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%87

ประวัติหมีแพนด้าที่เชียงใหม่

แหล่งที่มา http://www.youtube.com/watch?v=cDRxj5Dcf_o

หมีแพนด้า ภาพหมีแพนด้า

หมีแพนด้า
Animon Of The Month
หมีแพนด้า หมีแพนด้า หมีแพนด้าเขาว่าน่ารัก ใช่แล้วค่ะ วันนี้เราจะไปดูความน่ารักของเจ้าหมีขอบตาดำน่ารักกันนะคะ หมีแพนด้าจะมีขนเป็นสีดำและสีขาว โดยจะมีสีขาวบริเวณ หัว คอและสะโพก และจะมีสีดำ รอบตาทั้ง 2 ข้าง หู ไหล่ ขาหน้า หมีแพนด้าเพศผู้ขนาดตัวโตเต็มที่ สูงประมาณ 160-190 ซม. จะสูงกว่าเพศเมียเล็กน้อย และหนัก 85-125 กก. เพศเมียหนัก 70-100 กก. แพนด้ามีอายุขัยเฉลี่ย 15 ปี
แพนด้าพร้อมที่จะขยายพันธุ์เมื่ออายุ 4.5 – 6.5 ปี และจะจับคู่ผสมพันธุ์จะตั้งท้องในช่วงฤดูใบไม้ผลิระหว่างต้นเดือน มี.ค. – พ.ค. ใช้เวลาตั้งท้องประมาณ 3-5 เดือน จำนวนลูกที่คลอดออกมามีเพียง 1- 3 ตัว ลูกแพนด้าเมื่อออกจากท้องแม่จะมีน้ำหนักเพียง 85-140 กรัมเท่านั้นเอง ถ้าเทียบกับแม่แพนด้าแล้วลูกแพนด้าจะมีขนาด 1 ใน 1,000 ของแม่แพนด้าเลยทีเดียว และตัวจะเป็นสีแดงยังไม่เป็นสีขาวและดำเหมือนกับพ่อและแม่ เมื่อลูกแพนด้าแรกเกิดมีขนาดตัวเล็กอย่างนี้การเลี้ยงลูกแพนด้าให้สามารถมีชีวิตรอดได้นั้นจึงเป็นเรื่องลำบากมาก ขนของแพนด้าจะขึ้นเป็นสีขาว-ดำเมื่ออายุได้ 1 เดือน แพนด้าเป็นสัตว์กินพืชเป็นอาหาร โดยอาหารสำคัญที่เจ้าหมีขอบตาดำนี้โปรดปรานก็คือใบไผ่นั่นเอง แพนด้าตัวโตเต็มที่จะกินใบไผ่ถึงวันละ 12 – 15 กก.ต่อวัน อาหารที่เหลืออื่นๆอาจจะเป็นไข่ ปลา และแมลงบางชนิดที่อยู่ในใบไผ่ และอาจจะเป็นพืชชนิดอื่นๆรวมอยู่ด้วย

ในประเทศไทยนั้นถ้าน้องๆอยากจะเห็นเจ้าหมีแพนด้าตัวจริงก็จะต้องไปดูกันไกลถึงสวนสัตว์เชียงใหม่ทีเดียว กับความน่ารักของ ช่วงช่วง และ หลินฮุ่ย ผู้เป็นทูตสันตวไมตรีจากสาธารณรัฐประชาชนจีน เจ้าช่วงช่วง และหลินฮุ่ย มาถึงเมืองไทยเมื่อ 12 ตุลาคม 2546 ซึ่ง ช่วง ช่วง และ หลินฮุ่ย สำหรับประเทศไทยมีสัญญากับจีนว่า จะได้ทำการทดลองศึกษาวิจัยชีวิตหมีแพนด้าคู่นี้ เป็นระยะเวลา 10 ปี ตั้งแต่พ.ศ. 2547 ถึง 2557 หลังจากนั้นจะต้องส่งกลับ  รวมถึงลูกที่เกิดจากทั้งคู่ด้วย ทางประเทศไทยก็จะต้องส่งคืนให้กับประเทศจีน โดยจะต้องจ่ายเงินประมาณ 10 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนการวิจัยหมีแพนด้า และค่าประกันตัวละ 40 ล้านบาท แพนด้า 2 ตัวก็ 80 ล้านบาทเลยทีเดียว ในโลกนี้ถ้าไม่นับประเทศจีน มีเพียง 5 ประเทศเท่านั้นที่มีหมีแพนด้าไว้จัดแสดง คือ สหรัฐอเมริกา มี 7 ตัว , ญี่ปุ่น 6 ตัว ,เม็กซิโก 3 ตัว ,เยอรมันนี 3 ตัวและประเทศไทย 2 ตัว  
ปัจจุบันมีประชากรของแพนด้าเพียง 1,000 ตัวเท่านั้นในป่าของประเทศจีน หมีแพนด้าจึงจัดเป็นสัตว์อนุรักษ์อันดับ 1 ของประเทศจีน ซึ่งโทษของผู้ที่ละเมิดคือการประหารชีวิตเลยทีเดียว สาเหตุที่หมีแพนด้าใกล้สูญพันธุ์ก็คือการโดนบุกรุกถิ่นที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหาร เห็นชะตากรรมอันน่าสงสารของหมีแพนด้ากันอย่างนี้แล้ว เราก็ยิ่งจะต้องช่วยกันอนุรักษ์หมีแพนด้ากันให้มากขึ้นแล้วล่ะค่ะ


ภาพหมีแพนด้า น่ารัก!

แหล่งที่มา http://info.muslimthaipost.com/main/index.php?page=sub&category=29&id=4940

การอนุรักษ์หมีแพนด้า

แพนด้ามีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ailuropoda melanoleuca ซึ่งแปลว่าสัตว์ที่มีเท้ามีสีขาว-ดำเหมือนแมว เป็นสัตว์ที่พบใน ประเทศจีนเท่านั้นและคนจีนเรียกแพนด้าว่า Da xiong mao ซึ่งหมายถึงหมีแมวที่มีขนาดใหญ่ นักชีววิทยาสัตว์ดึกดำบรรพ์ ได้พบหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าบรรพสัตว์ของแพนด้าได้เคยมีชีวิตอยู่บนโลกเมื่อ 3 ล้านปีก่อนนี้ และประวัติศาสตร์จีนก็ได้เคยบันทึกว่า เมื่อ 3,000 ปีมาแล้ว ในสมัยของราชวงศ์ Zhou ได้มีการกล่าวถึงหมีแพนด้าว่า มีถิ่นอาศัยอยู่ในแถบภูเขา Qionglai ของมณฑล Yandao
ณ วันนี้ โลกมีแพนด้าเหลืออยู่เพียงประมาณ 1,000 ตัวเท่านั้นเอง และ 20 ตัว อาศัยอยู่ในสวนสัตว์นอกประเทศจีน ส่วนที่เหลืออยู่ ในสวนสัตว์จีนบ้างและอยู่ในป่าบ้าง โดยเฉพาะในบริเวณจีนตอนกลางที่มีภูเขาสูง ที่ที่มันชอบอยู่คือที่ระดับความสูง 1,500-3,000 เมตร ซึ่งมีเมฆหมอกปกคลุมตลอดเวลา

มันชอบกินไผ่และลำต้นไผ่เป็นอาหารประมาณวันละ 10-20 กิโลกรัม เพราะใบ ไผ่มีคาร์โบไฮเดรท โปรตีน และเกลือแร่มากกว่าต้นไผ่ ดังนั้นการไร้ซึ่งใบไผ่ จะทำให้มันไร้ซึ่งชีวิตด้วย ตามปกติแพนด้าไม่ใช่สัตว์กินพืชแต่เป็นสัตว์กินเนื้อ แต่เมื่อมันเป็นสัตว์ที่เชื่องช้า การไล่ล่าจับสัตว์อื่นเป็นอาหารจึงทำได้ยาก ดังนั้น มันจึงหันมาบริโภคพืชแทน แพนด้าชอบน้ำผึ้งเหมือนสัตว์ตระกูลหมีชนิดอื่นๆ และใช้เวลาหาอาหารวันละประมาณ 14 ชั่วโมง ส่วนอีก 10 ชั่วโมงที่เหลือ เป็นเวลานอน

นักชีววิทยาได้สังเกตเห็นว่า มือของแพนด้ามีนิ้ว 6 นิ้ว ซึ่งช่วยให้มันสามารถจับยึดกิ่งไผ่ได้กระชับและคล่อง และแพนด้าตัวเมีย มักชอบสืบพันธุ์กับตัวผู้ที่มีความเป็นนักกีฬาสูง เพราะเหตุว่าพื้นที่ที่แพนด้าใช้ในการหาอาหารนั้น กว้างใหญ่ไพศาลคือมีขนาดตั้งแต่
4.0-6.6 ตารางกิโลเมตร และตัวมันมีจำนวนน้อย ดังนั้น โอกาสที่ตัวผู้กับตัวเมียจะไม่ได้พบกันจึงสูง แต่เมื่อถึงเวลาสืบพันธุ์ตัวเมีย จะส่งเสียงเรียกร้องเหมือนแกะ และใช้กลิ่นในการสื่อสาร โดยมันจะขับฮอร์โมนความต้องการทางเพศออกมาจากต่อมที่อยู่บริเวณ ฐานหางของมัน แล้วลูบไล้ฮอร์โมนนี้ตามบริเวณโคนต้นไม้ เพื่อบอกตัวผู้ถึงสภาพของมันว่า พร้อมสำหรับการผสมพันธุ์แล้ว เมื่อแพนด้าตัวผู้ได้กลิ่นนี้ มันก็สามารถแยกแยะได้ว่าเป็นกลิ่นของแพนด้าตัวเมียตัวใดที่ส่งข่าวถึงมัน
ระบบฮอร์โมนของแพนด้าก็เป็นเรื่องที่น่าแปลกใจเช่นกัน เพราะตัวเมียจะตกไข่ประมาณปีละครั้งเท่านั้นเอง นักชีววิทยาได้สังเกต เห็นว่าเวลาตัวผู้ได้กลิ่นเพศจากตัวเมีย มันมักมีอารมณ์เพศรุนแรง แต่ก็ใช้เวลาสั้นมากเพียงครั้งละ 30-60 วินาที และเมื่อเสพสม แล้วแพนด้าตัวผู้ก็จะเดินกลับเข้าป่าไผ่เพื่อดำรงชีวิตแบบแพนด้าโสดอีกครั้งหนึ่ง จนกระทั่งถึงเวลาที่แพนด้าตัวเมียหลั่งฮอร์โมนอีก ในปีต่อไปและตามปกตินั้นแพนด้าจะผสมพันธุ์กันระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม มันใช้เวลาในการตั้งครรภ์ตั้งแต่ 3-6 เดือน จึงคลอดในราวเดือนสิงหาคม-กันยายน ลูกแพนด้ามีลำตัวยาวและหนักเพียง 0.5 กิโลกรัม คือหนักเพียง 1/900 เท่า ของน้ำหนักตัวแม่มัน ผิวมีสีชมพู ไม่มีขนตามตัว ตาของลูกแพนด้าแรกเกิดจะปิดตลอดเวลา จนกระทั่งอีก 1 เดือนต่อมา ตาจึงเปิดตามปกติ แพนด้าจะคลอด ลูกคราวละ 2 ตัว แต่แม่แพนด้ามักเลือกลูกของมันเพียงตัวเดียวเพราะมันพบว่าภาระในการเลี้ยงดูลูกอ่อนนานตั้ง 4-5 เดือนนั้น หนักเกินไปสำหรับลูก 2 ตัว ดังนั้น มันจึงปล่อยให้ตัวหนึ่งตายไปอย่างจงใจ
ตามปกติแพนด้าเป็นแม่ที่ดี มันจะเลี้ยงลูกอย่างทะนุถนอมนานถึง 1 ปีครึ่ง ซึ่งนับว่านานกว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นๆ และเวลา มันให้อาหารมันจะอุ้มลูกน้อยของมันแนบอกเหมือนคน
แพนด้าป่วยเป็นโรคได้ง่ายเหมือนสัตว์ชนิดอื่น โรคที่มักพบเห็นบ่อยคือ โรคพยาธิ โรคระบบหายใจ ระบบการย่อยอาหาร สมองอักเสบ และโรคโลหิตจาง แพนด้าที่อาศัยอยู่ในประเทศจีนมีอายุยืนประมาณ 30 ปี ในขณะที่แพนด้านอกประเทศมีอายุยืนเพียง 14 ปีเท่านั้นเอง
แพนด้าตัวผู้เป็นสัตว์สันโดษที่ไม่ชอบต่อสู้กันแต่ชอบอยู่ห่างกัน ส่วนตัวเมียนั้นดุกว่าและสู้กันบ่อย เวลาแพนด้าต่างเพศถูกจับขังรวมกัน หากเข้ากันไม่ได้มันจะสู้กัน หรือไม่เช่นนั้นตัวผู้ก็จะเดินหนีไป แต่ถึงแม้นิสัยจะเข้ากันได้ มันก็แทบจะไม่มีกิจกรรมทางเพศร่วมกัน ผู้ดูแลสวนสัตว์ได้พบว่า 70% ของแพนด้าตัวเมียที่ได้รับการเลี้ยงดูในสวนสัตว์ไม่มีระดู และ 90% ของตัวผู้ที่ถูกเลี้ยงปฏิเสธการจับคู่ และนี่ก็คือเหตุผลหนึ่งที่มีส่วนในการทำให้ประชากรแพนด้าลดจำนวนลง
ในปี พ.ศ. 2527 เมื่อโลกตระหนักว่า แพนด้าเป็นสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ รัฐบาลจีนภายใต้การสนับสนุนขององค์การสหประชาชาติ จึงได้จัดตั้ง Research Center for the Protection of the Giant Panda and Its Ecosystem ขึ้น Wolong Reserve ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 1 ล้านไร่ เพื่อสงวนและอนุรักษ์แพนด้า เพราะได้พบว่า แพนด้าถูกลอบยิงและการสูญเสียป่าไผ่ ได้คุกคามชีวิตของแพนด้ามาก ณ วันนี้ตลาดฮ่องกง ไต้หวันและญี่ปุ่นซื้อขายหนังแพนด้าในราคาสูงถึง 500,000 บาท เงินมหาศาลเช่นนี้ได้ทำให้คนบุกรุกเข้าไปในที่ที่มันอาศัยอยู่ การตัดป่าไผ่ การสร้างบ้านพักที่ระเกะระกะทำให้ป่าถูกแยกออกเป็นส่วนๆ เมื่อเนื้อที่ป่าถูกจำกัด แพนด้าจึงถูกบังคับให้ผสมพันธุ์กันเอง ทำให้สายพันธุ์เสื่อมและแพนด้าตัวเมียตั้งครรภ์น้อย รัฐบาลจีนจึงได้ตั้ง มาตรการขอร้องให้ประชาชนจีนอพยพออกจากป่าสงวนของแพนด้า โดยให้เงินเป็นสินน้ำใจทั้งนี้ก็เพื่อทำให้พื้นที่ป่าสำหรับแพนด้า เพิ่มสูงขึ้นประมาณ 70%
ในวารสาร Science ฉบับเดือนเมษายน พ.ศ. 2544 Jianguo Liu แห่งมหาวิทยาลัย Michigan State ในสหรัฐอเมริกา ได้รายงานว่า ขณะนี้ป่าไผ่ในประเทศจีนได้ลดขนาดลงมาก โดยเฉพาะที่ป่า Wolong ซึ่งต้นไผ่ที่นั่นในแต่ละปีได้ลดจำนวนลง เร็วกว่าที่คาดหวังมาก เหตุการณ์เช่นนี้จึงนับว่าเป็นภัยต่อการอยู่รอดของแพนด้ามาก และเท่านั้นยังไม่พอ J. Liu ยังได้สำรวจพบอีกว่า ในแต่ละปีที่เลี้ยงแพนด้านี้มีคน 140,000 คน มาเยี่ยมเยือน จำนวนคนที่มากมหาศาลนี้ทำให้ชีวิตของแพนด้าไร้ความสงบสุข และการออกลูกหนึ่งครั้งในทุกๆ 2 ปี ก็มีส่วนทำให้แพนด้าสืบพันธุ์ได้น้อย การถูกลอบยิงทั้งๆ ที่รัฐบาลจีนประกาศลงโทษคนยิง โดยให้ติดคุก 2 ปี ก็ไม่รุนแรงพอ และฟางเส้นสุดท้ายที่จะทำให้แพนด้าสูญพันธุ์เร็วก็คือ การที่คนจีนได้อพยพไปอาศัยอยู่ในพื้นป่า มาย่างหมูเป็นอาหารขายนักท่องเที่ยวกันจนป่าไผ่ได้ลดขนาดไปทุกวัน
หนทางเดียงที่ J. Liu คิดว่าจะทำให้แพนด้าไม่สูญพันธุ์คือ ต้องสร้างป่าให้แพนด้าได้อาหารและที่อยู่อาศัย ต้องจำกัดจำนวนคน ที่จะแวะเยือนป่าแพนด้า เพื่อให้แพนด้ามีอารมณ์สงบพอที่จะสืบพันธุ์ตามธรรมชาติ และถ้าสองมาตรการนี้ล้มเหลว วิธีสุดท้ายก็คือ การเชื้ออสุจิและไข่ของแพนด้ามาผสมเทียม และการทำโคลนนิ่งครับ
แหล่งที่มา http://www.mwit.ac.th/~physicslab/content_01/sutut/panda.html

จากแพนด้าสู่การวิเคราะห์

หนังสือส่งเสริมการอ่านเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ 
สาระการเรียนรู้ภาษาไทย 
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
เล่มที่ ๕ หมีแพนด้า:นักฆ่ามาเป็นนักบุญ
นายรุ่ง    ใจมา   :  ผู้เขียน  
  
คำนำ
 การจัดการเรียนรู้ในปัจจุบันนี้   ครูควรสร้างนวัตกรรม เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษา ได้แก่ การฟัง  การพูด  การอ่าน  และการเขียน  ซึ่งทักษะทั้งสี่ด้านนั้น ต้องอาศัยทักษะการคิดวิเคราะห์เป็นพื้นฐานทั้งสิ้น ดังนั้น ทักษะการคิดวิเคราะห์จึงมีความจำเป็นและสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากทักษะการคิดวิเคราะห์มีส่วนสำคัญต่อการเรียนรู้สาระต่างๆ รวมทั้งจำเป็นอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตอย่างเหมาะสมด้วย ดังนั้นผู้เขียนจึงได้จัดทำหนังสือส่งเสริมการอ่านเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์เล่มนี้  ได้เรียบเรียงขึ้นใหม่ โดยศึกษาเอกสารเรื่องหมีแพนด้าจากวารสารสารคดีและนิตยสารต่างๆ โดยใช้คลังคำที่กำหนดไว้ในหลักสูตรสถานศึกษา พร้อมทั้งสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมที่พึงประสงค์ไว้ด้วย  ผู้เขียน    หวังว่า หนังสือส่งเสริมการอ่านเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์เล่มนี้  จะช่วยพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ให้แก่นักเรียนดีขึ้นเป็นลำดับไป
                                                                                นายรุ่ง   ใจมา


แพนด้า ที่คนไทยเริ่มรู้จักกันมากขึ้น เมื่อประเทศจีนส่งช่วงช่วงและหลินฮุ่ย มาจัดแสดงที่สวนสัตว์เชียงใหม่ เป็นเวลา ๑๐ ปี (พ.ศ.๒๕๔๖- ๒๕๕๖) ด้วยอิทธิพลของสื่อทำให้หลายๆคนเชื่อว่า แพนด้าเป็นสัตว์ที่มีในประเทศจีนที่เดียวในโลก แต่แท้ที่จริงแล้วในประเทศไทย ,พม่าและเวียดนาม ต่างก็เคยมีแพนด้าป่าอาศัยอยู่ แต่นั่นเมื่อ ๑.๘ ล้านปีก่อน  ปัจจุบัน แพนด้าป่านอกประเทศจีนได้สูญพันธุ์แล้วทุกประเทศ
หลักฐานการพบฟอสซิลฟันกรามในประเทศไทย ที่ถ้ำแห่งหนึ่งใน       จ.แม่ฮ่องสอน และ ถ้ำวิมานดิน จ.ชัยภูมิ เป็นการพบจุดใต้สุดที่แพนด้าเคยอาศัยอยู่ ทั้งๆ ที่วิสัยของแพนด้าชอบอยู่ในที่ที่มีอุณหภูมิต่ำ แสดงว่าเมื่อเกือบสองล้านปีก่อนภาคอีสาน ประเทศไทย มีป่าไผ่มากมายหลายชนิดและมีอุณหภูมิที่ต่ำกว่าปัจจุบันนี้มาก เมื่ออุณหภูมิโลกอุ่นขึ้นแพนด้าจึงอพยพไปยังดินแดนทางเหนือที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำกว่าพื้นที่ประเทศไทย

  ช่วงช่วงและหลินฮุ่ย ไม่ใช่แพนด้าเลี้ยงคู่แรกที่มายลยินประเทศไทย   ก่อนหน้านี้ ดองดอง และหย่าชิง แพนด้าเพศผู้และเพศเมีย เคยถูกจัดสรรนำมาแสดงให้คนไทยชมถึง ๑๘๐ วัน ระหว่างปลายปี พ.ศ.๒๕๓๕ ถึงต้นปี พ.ศ.๒๕๓๖ โดยจัดแสดงที่สวนสัตว์ซาฟารีเวิลด์ รามอินทรา  กรุงเทพฯ เพียงแต่ครั้งนั้นมามาจัดแสดงเพียงอย่างเดียว โดยไม่ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับวิถีชีวิตของแพนด้าแต่อย่างใด แพนด้าที่เลี้ยงนอกประเทศจีนจะมีอายุเฉลี่ยเพียง ๑๔ ปี   ส่วนแพนด้าที่เลี้ยงในประเทศจีนจะมีอายุเฉลี่ยถึง ๓๐ ปี  เท่าที่มีการบันทึกไว้ แพนด้าตัวเมียในสวนสัตว์จี่หนาน  มณฑลชานตง ในจีน ชื่อ เทาเทา มีอายุยืนที่สุดในโลกคือ ๓๖ ปี

  แพนด้าเลี้ยงที่ประเทศจีนส่งไปเป็นเสมือนทูตแห่งความสัมพันธ์ที่ดีนั้นไม่กี่ประเทศในโลก ประเทศเหล่านั้น คือ สหรัฐอเมริกา เม็กซิโก ออสเตรีย  เยอรมัน  สเปน  ญี่ปุ่น   ไทย  ฮ่องกง  และไต้หวัน รวมทั้งหมด ๒๗  ตัว  หลินปิง เป็นตัวที่ ๒๘ ลูกแพนด้าที่เกิดนอกประเทศถือเป็นสมบัติของประเทศจีนและต้องส่งคืนภายใน ๒ ปี และทุกประเทศที่เลี้ยงแพนด้าต้องบริจาคเงินสมทบเข้ากองทุนวิจัยแพนด้าจีน ปีละ ๘.๒๕ ล้านบาท ส่วนไทยจ่ายให้ในอัตรามิตรภาพเพียง สองล้านห้าแสนบาท หากแพนด้าที่เลี้ยงเกิดลูก ประเทศนั้นๆ ต้องบริจาคเงินอีกเข้ากองทุนวิจัยแพนด้าอีก ๔.๙๕ ล้านบาทต่อ ๑ ตัว และต้องจ่ายอย่างน้อยครึ่งหนึ่งภายใน ๑๐ วัน หลังแพนด้าน้อยเกิด
  แพนด้าตามโครงสร้างร่างกายและระบบทางเดินอาหารจัดเป็นสัตว์กินเนื้อ ตระกูลเดียวกับหมี แต่เป็นหมีที่ไม่จำศีล ดังนั้นแพนด้าจึงเคยเป็นนักล่า นักฆ่ามาก่อนที่จะเป็นนักมังสวิรัติ คือกินพืช พืชที่ชอบกินคือไผ่ทุกชนิด  ไผ่เป็นพืชที่มีสารอาหารค่อนข้างน้อยจึงต้องกินปริมาณมากๆ อย่างน้อยตัวละ ๑๒-๑๕ กิโลกรัมต่อวัน  ใช้เวลากินไผ่นานวันละ ๑๔ ชั่วโมง จึงไม่มีเวลาจำศีลหน้าหนาวเหมือนหมีกินเนื้อทั่วไป
   แพนด้าป่ามีโอกาสสูญพันธุ์สูง เพราะมีโอกาสผสมพันธุ์ในช่วงไข่ตกเพียงประมาณปีละ ๓ วัน ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน  โดยตัวเมียจะส่งเสียงร้องและส่งกลิ่นจากโคนหางให้ตัวผู้รับรู้ หากมีตัวผู้อยู่ใกล้ก็จะรับรู้ถึงอาการและเข้ามาผสมพันธุ์กันใช้เวลาไม่เกิน ๑ นาที แล้วทั้งคู่ก็จะแยกกันอยู่  ปกติแพนด้าจะตกลูกครั้งละ ๒ ตัว แต่การเลี้ยงลูกในป่าเป็นภาระหนักมาก จึงพบว่าแม่แพนด้าจะเลี้ยงแพนด้าน้อยให้รอดได้เพียงตัวเดียว      การเกิดแพนด้าน้อยหลินปิงที่หลินฮุ่ยตกลูกเพียงตัวเดียวจึงเป็นเรื่องที่พิเศษกว่ากรณีอื่นๆ

 ลูกแพนด้าแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่าแม่ถึง ๙๐๐ เท่า ผิวมีสีชมพู   ตาจะเปิดดูโลกเมื่ออายุ ๑ เดือน เป็นภาระที่แม่แพนด้าต้องเลี้ยงอย่างทะนุถนอมราวหนึ่งปีครึ่ง ซึ่งยาวนานกว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมใดใด ยกเว้นมนุษย์ซึ่งบางคนต้องดูแลยาวนานชั่วชีวิตของพ่อแม่   แพนด้าในโลกนี้มีราว ๑.๖๐๐ ตัว อยู่ในกรงเลี้ยง ๒๓๙ ตัว องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) จึงจัดแพนด้าไว้ในบัญชีสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ ศัตรูของแพนด้านอกจากโรคหัด     โรคลำไส้อักเสบและโรคที่ติดต่อผ่านอากาศต่างๆแล้ว ก็มีเสือดาวหิมะแล้ว    ก็มนุษย์ มนุษย์ล่าและฆ่าเพื่อเอาหนังแพนด้าไปขายซึ่งมีราคาถึงผืนละ ๑๐ ล้านบาท หากขายในประเทศญี่ปุ่น
 

  อาหารของแพนด้าป่าคือป่าไผ่ตามธรรมชาติ แพนด้ากินไผ่ได้ทั้งต้น กิ่ง และใบ ด้วยความที่ต้องกินใบไผ่มากๆ จึงมีอาณาบริเวณถึงสี่ถึงเจ็ดตารางกิโลเมตรต่อตัว  ทำให้แพนด้าในธรรมชาติไม่ค่อยพบเจอกันมากนัก โอกาสผสมพันธุ์ตามธรรมชาติจึงน้อยมาก  แพนด้าในสวนสัตว์นอกจากจะได้กินไผ่แล้ว ยังได้กินอาหารเสริมและผลไม้รวมทั้ง ฝึกให้กินอาหารประเภทขนมปังนึ่ง  ขนมปังอบ   แครอท  และแอบเปิ้ลด้วย
 

  แพนด้ามีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Ailuropoda  Melanoleuca ซึ่งแปลว่า สัตว์ที่มีตีนสีขาว ดำ เหมือนแมว คนจีนเรียกแพนด้าว่า Daxiong mao ออกเสียงว่า “โสวงมาว” หรือ “ต้าโสวงมาว” หมายถึงหมีแมวที่มีขนาดใหญ่  ตำนานเก่าแก่ของจีนเล่าว่า แพนด้าเมื่อหลายพันปีก่อน ตลอดตัวมี     สีขาวสีเดียว เหตุที่มีจุดดำตามตัวบางส่วนนั้นเป็นเพราะว่า เมื่อ ๒๐๐๐ ปีก่อน ในป่าลึกหมู่บ้านชาวเชียง เทือกเขาโฉลงไหล มณฑลเสฉวน ครอบครัวหนึ่งมีสี่สาวน้อยนำแพนด้ามาเลี้ยงไว้กับแกะ น้องสาวคนสุดท้องรักและเอ็นดูแพนด้าเป็นพิเศษกว่าพี่สาว วันหนึ่งขณะพาแกะไปเลี้ยงในทุ่งหญ้ากลางป่า นายพรานยิงธนูจะฆ่าแพนด้า น้องสุดท้องกระโดดรับลูกธนูแทนจนตายไป  พี่สาวทั้งสามเสียใจร้องไห้คร่ำครวญจนตรอมใจตายตาม  การเผาศพสี่สาวผู้รักแพนด้ามีแพนด้าทั่วเมืองจีนมาร่วมงาน แม้งานศพจะเสร็จสิ้นแล้ว แพนด้าน้อยยังคงโศกเศร้าเสียใจเข้าไปเกลือกกลั้วกับกองขี้เถ้าที่เผาศพจนเนื้อตัวแขนขาเปื้อนเป็นสีดำ เมื่อยกมือปาดน้ำตาขอบตาจึงเป็นสีดำ เมื่อยกมือปิดหูไม่อยากได้ยินเสียงร่ำไห้ของแพนด้าตัวอื่น หูก็เลยดำ ส่วนกองขี้เถ้าสี่กองได้กลายมาเป็นภูเขาสี่ยอดชื่อ ซื่อกูเหนียงซาน แปลว่า ยอดเขาสี่ดรุณี ทอดตัวยาวคอยปกป้องที่อยู่ของแพนด้ามาจนทุกวันนี้

  กระแสการนำเสนอข่าวแพนด้าน้อยที่แพร่กระจายหลากหลายสื่อ ก่อให้เกิดปรากฏการณ์หลายอย่างในประเทศไทย เช่น เกิดช้างแพนด้าที่เพนียดช้างอยุธยา จระเข้แพนด้าที่ฟาร์มจระเข้ สุพรรณบุรี แม้ว่าแพนด้าทั้งหลินปิง ลูกน้อย และพ่อแม่ช่วงช่วง หลินฮุ่ย ต้องจากผืนแผ่นดินไทยกลับสู่อ้อมกอดแผ่นดินเดิมในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้ ก็หวังว่ากระแสการรักสัตว์และอนุรักษ์สัตว์ป่าจะยังคงอยู่ประจักษ์ชัดในสำนึกของคนไทยสืบไป เพราะในเมืองไทยถึงไม่มีแพนด้าแต่ยังมีสัตว์บ้านและสัตว์ป่าป่าน่ารักอีกหลายสิบชนิดที่ยังรอรับน้ำใจและความอบอุ่นจากคนไทยอยู่อย่างมีความหวังกว่าที่เป็นมา…
แบบทดสอบลองอ่านดูนะครับ...สำหรับ ป.6 นะครับ...



แบบทดสอบแพนด้า : จากนักฆ่ามาเป็นนักบุญ
1.ช่วงช่วงและหลินฮุ่ยจะจัดแสดงในสวนสัตว์เชียงใหม่เป็นเวลากี่ปี่
 ก. ๒ ปี      ข. ๖ ปี  ค. ๘ ปี  ง. ๑๐ ปี
2.ในภาคเหนือค้นพบซากฟอสซิลฟันกรามแพนด้าที่จังหวัดใด
 ก.เชียงใหม่ ข.แม่ฮ่องสอน  ค.ชัยภูมิ  ง.ลำปาง
3.เพราะเหตุใดแพนด้าจึงอพยพขึ้นไปทางดินแดนทางทิศเหนือ
 ก.เพราะป่าไผ่ทางเหนือมีมากกว่า
 ข.เพราะป่าไผ่ทางเหนืออร่อยกว่า
 ค.เพราะแพนด้าชอบอุณหภูมิสูง
 ง.เพราะแพนด้าชอบอุณหภูมิต่ำ
4.แพนด้าเพศผู้ที่นำมาให้ประชาชนคนไทยได้ชมในประเทศไทยเป็นตัวแรกคือข้อใด
 ก.ช่วงช่วง  ข.หลินฮุ่ย  ค.ดองดอง  ง.หย่าชิง
5.แพนด้าที่เลี้ยงนอกประเทศจีนมีอายุเฉลี่ยน้อยกว่าแพนด้าที่เลี้ยงในประเทศจีนกี่ปี
 ก.๑๔ ปี  ข.๑๖ ปี  ค.๓๐ ปี  ง.๓๖ ปี
6.ปัจจุบันนี้ประเทศในข้อใดไม่มีแพนด้าเลี้ยงในกรง
 ก.ฮ่องกง ข.มาเลเซีย ค.สเปน  ง.เยอรมัน
7.ทำไมแพนด้าซึ่งเป็นสัตว์ในตระกูลหมีชนิดหนึ่งจึงไม่จำศีล
 ก.เพราะอุณหภูมิโลกร้อนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมแพนด้า
 ข.เพราะแพนด้าถูกเลี้ยงนอกประเทศจีน
 ค.เพราะแพนด้ากินเนื้อสัตว์
 ง.เพราะแพนด้ากินพืช
8.ทำไมแพนด้าจึงมีโอกาสสูญพันธุ์
 ก.บริเวณหากินไผ่กว้างเกินไป
 ข.มีช่วงเวลาผสมพันธุ์สั้นมาก
 ค.แพนด้าไม่ชอบเลี้ยงลูก
 ง.แพนด้ามีอายุขัยสั้นมาก
9.ส่วนใดของแพนด้าที่มนุษย์ต้องการมากเพราะมีราคาแพงที่สุด
 ก.หัว ข.ตัว ค.ขน ง.หนัง
10.นักเรียนคิดว่าคนไทยได้ประโยชน์จากแพนด้ามากที่สุดในข้อใด
 ก.แพนด้ามีผู้ชมมากช่วยให้สวนสัตว์ไม่ขาดทุน
 ข.แพนด้าปลูกกระแสรักสัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยงในคนไทยมากขึ้น
 ค.แพนด้าช่วยให้ไปรษณียบัตรขายดีขึ้น
 ง.แพนด้าช่วยให้คนไทยดูข่าวโทรทัศน์มากขึ้น
แหล่งที่มา http://www.oknation.net/blog/print.php?id=505365

แพนด้าน่ารู้

หมีแพนด้ายักษ์มีชื่อในทางวิทยาศาสตร์คือ
Kingdom: Animalia
Phylum: chordate
Class: Mammalia
Order: Carnivora
Family: Ursidae
Genus & Species : Ailuropoda melanoleuca

                หมีแพนด้ามีถิ่นอาศัยดั่งเดิมอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศจีน เป็นสัตว์ที่ไม่ชอบอยู่นิ่งในธรรมชาติชอบปีนป่ายต้นไม้หรือหาอาหารโดยเวลาส่วนใหญ่ใช้ไปกับการกินอาหาร (eating) การพักผ่อน (resting) และการหาอาหาร (foraging) หมีแพนด้าจะไม่จำศีลเหมือนหมีชนิดอื่นๆ มีอายุเฉลี่ยประมาณ 25-30 ปี
                ลักษณะของรูปร่างโดยทั่วไป มีขนสีดำรอบดวงตาทั้งสองข้าง หู ไหล่ ขาหน้า และขาหลัง มีขนสีขาวบริเวณหัว คอ สะโพก ขนหนาปุกปุย เพื่อช่วยเก็บรักษาความอบอุ่นร่างกาย หมีแพนด้ามีขน 2 ชั้น คือ ขนชั้นนอกจะมีสีขาว และขนสีดำ ส่วนชั้นในจะมีสีน้ำตาลอ่อน ความหนาของขนจะมีความยาวประมาณ 5 เซนติเมตร เพื่อป้องกันน้ำ และอากาศหนาว แต่มีกะโหลกศีรษะใหญ่กว่าหมีชนิดอื่นๆ ลักษณะพิเศษ คือ เท้าทั้ง 4 มีนิ้วที่แท้จริงเท่ากับ 5 นิ้ว เท้าหน้าทั้งสองข้างมีนิ้วพิเศษ ซึ่งเป็นนิ้วโป้งเทียมงอกออกมาข้างละ 1 นิ้ว รวมมีนิ้วทั้งหมด 20 นิ้ว นิ้วเทียม 2 นิ้ว และมีหางเหมือนเบาะรองนั่งเวลากินอาหาร หางของหมีแพนด้าสั้นมาก โดยมีความยาวประมาณ 15
หมีแพนด้ามีโครงสร้างของฟันกรามขนาดใหญ่ และกระดูกขากรรไกรที่แข็งแรง และระบบทางเดินอาหารเหมือนพวกสัตว์กินเนื้อ เช่น สุนัขและแมว หมีแพนด้ากินไผ่เป็นอาหารหลัก สามารถกินได้ทั้งลำต้นและใบเป็นอาหารหลักถึง 99 เปอร์เซ็นต์ (โดยเฉพาะหมีแพนด้าที่อาศัยตามธรรมชาติ) เมื่อโตเต็มที่จะสามารถกินไผ่ได้ถึง 15-25 กิโลกรัม แต่หมีแพนด้ายักษ์ที่เลี้ยงในสภาพกรงเลี้ยงจะกินไผ่เป็นอาหารหลักเช่นเดียวกับหมีแพนด้าที่อยู่ตามธรรมชาติ แต่มีความแตกต่างเพียงการให้อาหารเสริม และผลไม้ที่ช่วยในการย่อยได้ง่ายขึ้น และการฝึกหมีแพนด้าให้ปฏิบัติตามคำสั่งโดยการให้ขนมปังนึ่ง และขนมปังอบ แครอทหรือแอปเปิ้ล
                ฤดูผสมพันธุ์หมีแพนด้ามีฤดูผสมพันธุ์ปีละ 1 ครั้ง ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ตั้งแต่เดือน มีนาคม – เมษายน หมีแพนด้าเพศผู้ตัวโตเต็มวัยพร้อมผสมพันธุ์อายุ 5.5 -7.5 ปี คุณภาพของน้ำเชื้อเพศผู้ และขนาดของอัณฑะแตกต่างกันตามฤดู คุณภาพของน้ำเชื้อดีที่สุดจะอยู่ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ หมีแพนด้าเพศเมียตัวโตเต็มวัยพร้อมผสมพันธุ์อายุ 5.5 – 6.5 ปี โดยระยะเวลาที่หมีแพนด้ายักษ์จะยอมรับการผสมพันธุ์จะยาวนานเพียง 3 วัน/ปี ในแต่ละปีพฤติกรรมการเป็นสัดของหมีแพนด้าเพศเมียคือ กระสับกระส่าย เบื่ออาหาร กินอาหารลดลง ส่งเสียงร้อง เช่น การร้องแพะมากขึ้น ส่วนการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย ได้แก่ ช่องคลอดบวมแดง และการป้ายกลิ่น
                หมีแพนด้ายักษ์ส่วนใหญ่จะสื่อสารกัน โดยการใช้กลิ่นอะซิติค ที่หลั่งออกมาจากต่อมที่อยู่ใกล้ๆ กับบริเวณสืบพันธุ์หรือ โคนหาง  โดยจะถูตามต้นไม้ ก้อนหิน และพื้นราบ หรือที่เรียกกันว่า Scent marking นอกจากนี้ยังใช้เล็บขูดต้นไม้ และใช้เสียงในการกำหนดอาณาเขต เช่น การร้องเห่า , การร้องขู่คล้ายสุนัข หรือการใช้เสียงพร้อมที่จะผสมพันธุ์
               ในประเทศไทย หมีแพนด้าถูกนำมาเลี้ยงภายในกรงเลี้ยงของสวนสัตว์เชียงใหม่ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2546 จากสาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน 2 ตัว คือหมีแพนด้าเพศเมียชื่อ หลินฮุ่ย เกิดเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2544 และหมีแพนด้าเพศผู้ชื่อ ช่วง ช่วง เกิดเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2543  ภายในสวนสัตว์เชียงใหม่มีกรงเลี้ยงภายในอาคาร

น้องหมี 8 ชนิด

 เด็กผู้หญิงหลายๆ คน ชอบกอดตุ๊กตาหมีที่แสนน่ารัก แต่หมีที่อาศัยในธรรมชาติจริงๆ นั้น เป็นสัตว์ที่ดุร้าย และมีพละกำลังมหาศาล แถมจมูกยังดีกว่าสุนัขถึง 7 เท่า เรามาดูกันดีกว่า ว่าหมีทั่วโลก มีกี่ชนิด และหน้าตาเป็นอย่างไรบ้าง
ชนิดแรกก็คือ หมีควาย (Asiatic Black Bear) เป็นหมีที่ใหญ่ที่สุดที่พบในไทย มีนิสัยดุร้าย ขนตามลำตัวของมันหนามาก เพื่อป้องกันเหล็กไนของผึ้งที่จะรุมต่อยเวลามันกินรังผึ้งนั่นเอง ยกเว้นบริเวณจมูกที่ไม่มีขนปกคลุม ซึ่งเวลาที่มันกินรังผึ้งมันก็จะเอามือปิดจมูกเอาไว้เพื่อป้องกันผึ้งต่อย โดยหมีควายจะมีลักษณะที่เด่นชัดคือ มีขนสีขาวรูปตัววีที่หน้าอก (แต่เจ้าตัวนี้ไม่ค่อยเหมือนตัววีเท่าไรนะครับ)
 ต่อมาคือ หมีหมา หรือ หมีคน (Malayan Sun Bear) เป็นหมีที่เล็กที่สุดในโลก และเป็น 1 ในหมี 2 ชนิดที่พบในประเทศไทย โดยเมื่อมันยืนสองขา จะมีลักษณะคล้ายๆ คน จึงถูกเรียกว่า หมีคน ส่วนเวลาที่มันข่มขู่ศัตรู มันจะร้องเสียงคล้ายหมาเห่าๆ จึงเรียกมันว่า หมีหมา โดยหมีหมามีลักษณะพิเศษคือ ขนสีขาวที่หน้าอกเป็นรูปตัวยู
แพนด้ายักษ์ (Gian Panda) ที่เรารู้จักกันดี  ซึ่งแพนดายักษ์นั้นมีลักษณะเด่นก็คือขนสีขาวสลับดำนั่นเอง ซึ่งผิวหนังบริเวณใต้ขนสีดำก็จะมีสีดำ ส่วนผิวหนังบริเวณใต้ขนสีขาวจะมีสีชมพู ในธรรมชาติ แพนดาก็จะกินใบไผ่เป็นอาหารอย่างที่พวกเรารู้กัน แต่ในสวนสัตว์ แพนดาจะได้รับบิสกิตชนิดพิเศษเป็นอาหารเสริมด้วย ปัจจุบันนี้ แพนดาอยู่ในสภาวะที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เป็นอย่างยิ่ง ในธรรมชาติเหลือแพนดาไม่ถึง 2,000 ตัวแล้ว
             มีเรื่องเหลือเชื่อเกี่ยวกับแพนดาครับ คุณเชื่อหรือไม่ครับว่าเสียงร้องของแพนดานั้นคล้ายกับเสียงร้องของแกะ "แบ๊ะๆ แบ๊ะๆ"

หมีสลอธ (Sloth Bear) พบในประเทศอินเดีย มีลักษณะคล้ายหมีคน แต่มีขนที่ยาวรกรุงรังกว่า
หมีขั้วโลก (Polar Bear) เป็นหมีที่ใหญ่ที่สุดในโลก ปัจจุบันกำลังเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์จากภาวะโลกร้อน หมีขั้วโลกกินแมวน้ำเป็นอาหาร โดยแมวน้ำจะมีการเจาะพื้นน้ำแข็งเพื่อเป็นช่องสำหรับขึ้นมาหายใจ เจ้าหมีขั้วโลกนี้ก็จะยืนดักรอที่ช่องหายใจ และจับแมวน้ำขึ้นมากินอย่างเอร็ดอร่อย หรือลูกแมวน้ำบางตัวที่ยังว่ายน้ำไม่ได้ และต้องแข็งตายอยู่ในโพรง ก็ถือเป็นอาหารสุดโปรดของหมีขั้วโลกเหมือนกัน หมีขั้วโลกมีพละกำลังมหาศาลมาก ขนาดวาฬบีลูกาที่ตัวใหญ่กว่ามัน มันก็ยังลากขึ้นมากินได้อย่างสบายๆ โดยเราสามารถหาชมหมีขั้วโลกได้ที่ซาฟารีเวิลด์ครับ

หมีดำอเมริกัน (American Black Bear) พบในแถบอเมริกาเหนือ เป็นหมีที่เล็กที่สุดที่พบในอเมริกาเหนือ และเป็นหมี 1 ใน 2 ชนิดที่พบในอเมริกาเหนือ โดยหมีชนิดนี้สามารถปีนต้นไม้ได้เก่งมาก
 หมีกริซลี่ (Grizzly Bear) ที่เราเห็นในโฆษณาทาโร่ไงครับ มันเป็นหมีใหญ่ดุร้ายชนิดหนึ่ง และชอบเล่นงานลูกของหมีดำอเมริกันด้วย แต่มันปีนต้นไม้ไม่ได้ ทางรอดทางเดียวของลูกหมีดำคือต้องหนีขึ้นต้นไม้ โดยมันกินได้สารพัดอย่าง ทั้งลูกเบอร์รี่ กวางมูส และอาหารสุดโปรดของมันก็คือ ปลาแซลมอนนั่นเอง
หมีแว่นตา (Spectacled Bear) พบในอเมริกาใต้ ซึ่งมันชอบกินยอดไม้อ่อนๆ เป็นอย่างมาก
แหล่งที่มา http://www.dek-d.com/board/view.php?id=1753719

ท่องเที่ยวสวนสัตว์เชียงใหม่ ชมหมีแพนด้า

นับเป็นช่วงเวลาแห่งความปลื้มปีติยินดี และเปี่ยมล้นไปด้วยความสุขใจ ของประชาชนชาวไทยและชาวต่างชาติทั่วโลก เมื่อโครงการวิจัยและจัดแสดงหมีแพนด้าในประเทศไทย ของสวนสัตว์เชียงใหม่ สังกัดองค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประสบความสำเร็จในการวิจัยและเพาะพันธุ์หมีแพนด้าจน "หลินฮุ่ย" หมีแพนด้าเพศเมียได้ให้กำเนิดลูกน้อยที่เกิดจากน้ำเชื้อของ "ช่วงช่วง" หมีแพนด้าเพศผู้ เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2552 เวลา 10.39 น. โดยแพนด้าน้อยมีน้ำหนักตัวประมาณ 200 กรัม แถมหน้าตานั้นยังน่ารักน่าชังอีกด้วย อย่างไรก็ตาม หลังแพนด้าน้อยออกมาลืมตาดูโลก ก็ดูเหมือนว่าทุกคนจะให้ความสนใจเป็นอย่างมาก มีข่าวพัฒนาการของลูกหมีแพนด้าน้อยออกสื่อไม่เว้นแต่ละวัน ล่าสุดยังมีการประกวดตั้งชื่อให้ลูกหมีแพนด้ากันอีกด้วย ทำให้ประชาชนส่งชื่อเข้าร่วมการประกวดกันเพียบ
           เอาล่ะ!! เกริ่นถึงหมีแพนด้าน้อยมาซะเยอะ จริงๆ แล้ววันนี้ เราจะพาเพื่อนๆ ไปเที่ยวกันที่ "สวนสัตว์เชียงใหม่" สวนสัตว์ขนาดใหญ่ที่มีสัตว์มากมายหลายชนิด ทั้งที่มีอยู่ในเมืองไทยและนำมาจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก ว่าแล้วได้เวลาไปทำความรู้จักที่นี่พร้อมๆ กันเลย...
           "สวนสัตว์เชียงใหม่" ตั้งอยู่ที่ถนนห้วยแก้ว ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อที่ทั้งหมด 531 ไร่ ห่างจากตัวเมืองประมาณ 5 กิโลเมตร ใกล้กับสวนรุกขชาติ เป็นสวนสัตว์ขนาดใหญ่ที่มีสัตว์มากมายหลายชนิด มีบริเวณกว้างขวาง บรรยากาศร่มรื่น และมีสัตว์อยู่มากกว่า 2,000 ชนิด ทั้งที่มีอยู่ในเมืองไทยและนำมาจากต่างประเทศ ภายในสวนสัตว์ยังมี "เชียงใหม่ ซู อควาเรียม" (Chiangmai Zoo Aquarium) สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำครบวงจร ด้วยอุโมงค์ใต้น้ำที่ยาวที่สุดในโลก จัดแสดงพันธุ์สัตว์น้ำนานาชนิด ทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม กว่า 250 สายพันธุ์ จำนวน กว่า 20,000 ตัว มีสวนนกเพนกวิน และสวนนกฟิ้นซ์ ซึ่งเป็นนกขนาดเล็กที่มีสีสันสวยงาม จนได้รับการขนานนามว่าเป็น "อัญมณีบินได้" มีหมีโคอาล่า จากประเทศออสเตรเลีย และยังมีสัตว์อื่นๆ อีกมากมายหลายชนิด
           ทั้งนี้ สวนสัตว์เชียงใหม่ เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 8.00 น. - 18.00 น. (เปิดขายบัตรถึงเวลา 17.00 น.) นอกจากนี้ ยังมีทัวร์ชมสัตว์ป่ายามค่ำคืน Twilight Zooโดยรถยนต์นำชมพฤติกรรมสัตว์ต่างๆ ที่ออกหากินยามกลางคืน พร้อมวิทยากรบรรยายให้ความรู้ ตั้งแต่เวลา 18.30 - 21.00 น. สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและจองทัวร์ได้ที่ โทร. 0-5321-0374, 0-5322-1179 และ 0-5322-2283
                                                          
ค่าธรรมเนียมสวนสัตว์เชียงใหม่ 
  ค่าธรรมเนียมบัตรผ่านประตูเข้าชมสวนสัตว์เชียงใหม่ 
          บัตรผู้ใหญ่ (ชาวไทย) 50 บาท
          บัตรเด็ก สูงไม่เกิน 135 เซนติเมตร (ชาวไทย) 10 บาท
  ค่าธรรมเนียมจอดยานพาหนะ 
          รถยนต์ 50 บาท
          รถจักรยานยนต์ 10 บาท
          รถจักรยาน 1 บาท
  ค่าธรรมเนียมบัตรเข้าชมหมีแพนด้า 
          บัตรผู้ใหญ่ (ชาวไทย) 50 บาท
          บัตรเด็ก สูงไม่เกิน 135 เซนติเมตร (ชาวไทย) 20 บาท
แหล่งที่มา http://hilight.kapook.com/view/37755

โครงการวิจัยและจัดแสดงหมีแพนด้าในประเทศไทย

โครงการวิจัยและจัดแสดงหมีแพนด้าในประเทศไทยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ ปี พ.ศ.2546 โดยเริ่มมาจาก ในปี พ.ศ. 2544 พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ (รองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น) ได้เดินทางไปราชการที่ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน และได้เจรจาขอหมีแพนด้าจากประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีของสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งสัมพันธ์ ไมตรีระหว่างประเทศ
ต่อมาเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย แจ้งว่า รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนยินดีมอบหมีแพนด้า 1 คู่ให้ประเทศไทย และวันที่ 22 ตุลาคม 2544 รัฐบาลไทย โดยคณะรัฐมนตรี มีมติรับทราบ และมอบหมายให้ องค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประสานงานเพื่อเตรียมความพร้อมต่าง ๆ ซึ่งต่อมามีการประชุมและดำเนินการ ภายใต้โครงการวิจัยและจัดแสดงหมีแพนด้าในประเทศไทย โดยได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ 2545 จากงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉิน หรือจำเป็นจำนวน 39,818,313 บาท เป็นค่าก่อสร้างส่วนวิจัยและจัดแสดงหมีแพนด้า และมอบหมายให้กองพลทหารช่าง ค่ายภาณุรังสี จังหวัดราชบุรี เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างในระยะเวลา 210 วัน
วันที่ 4 มีนาคม 2546 มีพิธีลงนามในสัญญาการสนับสนุนหลักระหว่าง บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และองค์การสวนสัตว์ ในการสนับสนุนการขนส่งหมีแพนด้าจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนมายังประเทศไทย สนับสนุนที่นั่ง สำหรับผู้ที่จะร่วมเดินทางไปรับหมีแพนด้าจำนวน 50 ที่นั่ง สนับสนุนบัตรโดยสารเครื่องบิน สำหรับเจ้าหน้าที่ต่าง ๆ ในวงเงินปีละ 1 ล้านบาท สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดทำกล่องสำหรับขนส่งหมีแพนด้า และสนับสนุนการขนส่งไผ่จากจีน มายังประเทศไทยเมื่อมีความจำเป็น
วันที่ 10 สิงหาคม - 10 กันยายน 2546 องค์การสวนสัตว์ได้จัดส่ง นายสัตวแพทย์ 1 คน และพนักงานเลี้ยง 1 คน ซึ่งจะทำหน้าที่เลี้ยงหมีแพนด้า ไปศึกษาดูงานและฝึกอบรมการเลี้ยงดูหมีแพนด้า ณ ศูนย์วิจัยและอนุรักษ์หมีแพนด้า เมืองวู่หลง มณฑลเสฉวน สาธารณรัฐประชาชนจีน
วันที่ 1-5 กันยายน 2546 ฯพณฯ รองนายกรัฐมนตรี (พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ) ข้าราชการระดับสูงและผู้บริหารระดับสูง ขององค์การสวนสัตว์ เดินทางไปเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการ เพื่อเจรจาความร่วมมือในด้านต่าง ๆ พร้อมทั้งร่วมพิธีลงนามในข้อตกลงความร่วมมือการวิจัยและอนุรักษ์หมีแพนด้า ณ กรุงปักกิ่ง จากนั้นก็เดินทางไปเลือกหมีแพนด้า 1 คู่ ที่จะนำมาจัดแสดงในประเทศไทย ณ ศูนย์วิจัยและอนุรักษ์หมีแพนด้า เมืองวู่หลง เฉินตู มณฑลเสฉวน
วันที่ 12 ตุลาคม 2546 ทูตสันถวไมตรีหมีแพนด้า "ช่วง ช่วง-หลินฮุ่ย" เดินทางมาถึงจังหวัดเชียงใหม่ เที่ยวบินพิเศษ "เรารักแพนด้า" มีพิธีขบวนแห่ยิ่งใหญ่จากท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ ถึงสวนสัตว์เชียงใหม่ เวลา 17.25 น. ท่ามกลางความชื่นชมยินดีจากชาวเชียงใหม่และจังหวัดภาคเหนือ
Project for Panda Research and Display in Thailand was established in 2003 after General Chavalit Yongchaiyudh (the Deputy Prime Minister)had been visited the People’s Republic of China in 2001. He persuaded the president and prime minister of the People’s Republic of China to lend a pair of giant panda in order to be “Animal Ambassador”, reflecting the close relationship between China and Thailand.
Later, Chinese ambassador in Thailand informed that Chinese government agreed to give a pair of giant panda for Thailand. On October 22, 2001, the prime minister assigned the Zoological Park Organization of the Kingdom of Thailand to be responsible for conducting under Project for Panda Research and Display in Thailand. The Project for Panda Research and Display in Thailand is completed with the construction work allocated a budget of 39,818,313 baht by the army engineer of Panurangsi Camp, Military Camp in Ratchaburi within 210 days.
The Deputy Prime Minister (General Chavalit Yongchaiyudh) and the committees had been visited the People’s Republic of China again for signing the Agreement on Cooperation on Research and Conservation of Giant Pandas at Beijing and chose a pair of giant panda at Chengdu Research Base for Giant Panda Breeding in Wolong Nature Reserve, Sichuan. The budgets construction is estimated to be worth around 39,818,313 baht which was built within 210 days by the army engineer of Panurangsi Camp, Military Camp in Ratchaburi.
On March 4th, 2003, Thai Airways International Public Company Limited together with the Zoological Park Organization under the Royal Patronage of the H.M. the King signed a joint agreement as main sponsors in support of the Panda Research and Exhibition Project Thailand. THAI’s support for the project includes the transport of the two pandas from China to Thailand. THAI offers 50 passenger seats to China in order to receive delivery of two pandas. THAI is also providing air tickets for related personnel worth 1 million baht per year. In addition to providing transport, THAI will be carrying bamboo shoots from China.
On August 10th-September 10th, 2003, the Zoological Park Organization under the Royal Patronage of the H.M. King provided one veterinarian and one keeper to study and train how to rearing giant panda at China Research and Conservation Center for the Giant Panda, Wolong city, Sichuan province, The People’s Republic of China.
On September 1st-5th, 2003, Thai Deputy Prime Minister Gen. Chavalit Yongchaiyudh senior government official went to The People’s Republic of China for signing on the Agreement Cooperation on Research and Conservation of Giant Pandas at Beijing and selected a pair of giant panda at Chengdu Research Base for Giant Panda Breeding in Wolong Nature Reserve, Sichuan.
On October12th, 2003, Chuang Chuang and Lin Hui are considered as “Friendship Ambassadors” between China and Thailand, flying in a special THAI airplane with the special flight called “Love Panda Love Chiang Mai”. The welcoming ceremony participating with people from government agencies and local communities for the pandas began at Chiang Mai International Airport to Chiang Mai Zoo at 17.25 p.m.

วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2555

ประวัติหมีแพนด้า-คลังปัญญาไทย

  

        หมีเเพนด้าสัตว์ในตระกูลหมีที่มีถิ่นฐานกำเนิดในประเทศจีน โดยความน่ารักของหมีเเพนด้านั้นไม่ต้องพูดถึงเพราะใครต่อใครต่างหลงเสน่ห์ความน่ารักของเจ้าหมีตัวสีขาว ตาสีดำ กันทุกคน เพราะฉะนั้นเรามาทำความรู้จักกับหมีเเพนด้ากันให้มากกว่านี้กัน

ประวัติหมีเเพนด้า
        เนื่องจากในสมัยดึกดำบรรพ์ แพนด้ายักษ์ หรือ ต้าสงเมา มีอยู่มากมาย กระจายตามถิ่นต่างๆทั่วประเทศจีน ในบันทึกเรื่องเกี่ยวกับแพนด้าของจีน จึงมีคำเรียกสัตว์ชนิดนี้ ในภาษาจีนแตกต่างหลากหลาย อาทิ ‘ผี’หรือ‘ผีซิ่ว’(ชื่อที่เรียกในสมัยโบราณ) ‘ไป๋สง (หมีขาว) ฮัวสง (หมีลาย) จู๋สง (หมีไผ่) บางถิ่นเรียกแตกต่างออกไป เช่น แถบเทือกเขาหมินซันบริเวณถิ่นที่อยู่ของชนชาติทิเบต เรียก "ตั้ง’"หรือ "ตู้ต้งก่า" แต่ชนชาติอี๋แถบเทือกเขาเหลียงซัน เรียก ‘เอ๋อชีว์’ เป็นต้น
        熊猫 (สงเมา) คำเรียกแพนด้าในภาษาจีนกลาง สง แปลว่า หมี เมา แปลว่า แมว มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Ailuropoda melanoleuca แปลว่า สัตว์ที่มีลำตัวเป็นสีขาวดำ มีเท้าเหมือนแมว
        "สงเมา" (แมวที่เหมือนหมี) เป็นคำเรียกในปัจจุบัน แต่จริงๆแล้ว ช่วงจีนก่อนยุคปลดแอกได้เคยเรียกแพนด้าว่า "เมาสง" (หมีที่เหมือนแมว)มาก่อนนะจ๊ะ 猫熊(เมาสง) เป็นศัพท์บัญญัติขึ้นในช่วงประวัติศาสตร์จีนยุคปัจจุบัน หมายถึง สัตว์ที่มีหน้าตากลมๆอ้วนๆคล้ายแมว แต่รูปร่างใหญ่คล้ายหมี จนบางคนถึงกับจัดมันให้อยู่ในประเภทเดียวกันกับหมี
        เนื่องจากคนจีนในสมัยก่อนเวลาเขียนหนังสือจะเขียนตัวอักษรไล่จากบนลงล่างตามแนวตั้ง และอ่านจากแถวขวาไปซ้าย ซึ่งแตกต่างจากการเขียนในปัจจุบัน ที่เรียงตัวอักษรตามแนวนอน และอ่านจากซ้ายไปขวา มีครั้งหนึ่งเมื่อพิพิธภัณฑ์เป่ยเป้ย ในมณฑลซื่อชวน ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดแพนด้าในประเทศจีน ได้จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับเจ้าเมาสงนี้ และได้เขียนคำอธิบายตามแบบการเขียนในปัจจุบัน แต่บังเอิญมีผู้เข้าชมคนหนึ่งแกติดนิสัย การอ่านหนังสือแบบจีนรุ่นเก่า เลยอ่าน "เมาสง" เป็น "สงเมา" เสียนี่ ตั้งแต่นั้นจึงเรียกติดปากกันต่อๆมาอย่างผิดๆนี่แหละ
        อย่างไรก็ตามจะแมวหมีหรือหมีแมว นักชีววิทยาก็จัดแพนด้าอยู่ในสัตว์ประเภทหมี ซึ่งแน่นอนไม่ใช่ประเภทเดียวกับแมวจ้า

[แก้ไข] ลักษณะเด่น
        ลักษณะที่โดดเด่นของ หมีแพนด้า คือมีขนสีดำและสีขาว บริเวณหัว คอ ตะโพก จะมีสีขาว ส่วนรอบๆตาทั้งสองข้าง หู ไหล่ ขาหน้า และขาหลังจะมีสีดำ หัวของหมีแพนด้า จะใหญ่เมื่อเทียบกับสัดส่วนของตัว กว่าหมีชนิดอื่นๆ เท้าหน้ามี 6 นิ้ว พร้อมที่จะกางกว้างออกเมื่อปะทะกัน หรือปีนต้นไม้
[แก้ไข] ขนาด
        หมีแพนด้าเพศผู้ขนาดตัวโตเต็มที่ สูงประมาณ 160-190 ซม. จะสูงกว่าเพศเมียเล็กน้อย มีขาหน้าที่แข็งแรง และหนัก 85-125 กก. เพศเมียหนัก 70-100 กก. ลูกหมีเพิ่งคลอดหนักเพียง 85-140 กรัม
[แก้ไข] ถิ่นที่อยู่
        หมีแพนด้าจะอาศัยอยู่ที่ระดับสูง 1200-3500 เมตร ในป่าเขา ซึ่งมีต้นไม้ไผ่ขึ้นหนาแน่น เเละจะพบหมีแพนด้าเพียงตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน แนวเขตที่ราบสูงของ ทิเบต ใน 6 พื้นที่เล็กๆ ของจังหวัด Sichuan Gansu และ Shaanzi รวมแล้วมีพื้นที่เพียง 14000 ตร.กม.

[แก้ไข] การสื่อสาร
        หมีแพนด้าจะใช้กลิ่น อะซิติค ที่หลั่งออกมาจากบริเวณ ต่อมที่อยู่ใกล้ๆกับอวัยวะสืบพันธุ์ ไว้ตามต้นไม้ ก้อนหิน และใช้เสียงในการกำหนดขอบเขต โดยส่วนมากจะเป็นหมีเพศผู้ ส่วนการใช้เสียงของหมีเพศเมีย จะมีในช่วงที่จะผสมพันธุ์
[แก้ไข] อาหาร
        อาหารของหมีแพนด้า 99% จะมาจากต้นไผ่ ตัวโตเต็มที่ จะกิน 12-15 กก./วัน แต่ถ้าเป็น ต้นหรือใบอ่อนของต้นไผ่ หมีแพนด้าสามารถกินได้ถึง 38 กก/วัน ซึ่งหนักถึง 40%ของน้ำหนักตัวมันเอง และอาหารอีกที่เหลือ จะเป็นพืชชนิดอื่นๆ รวมทั้งเนื้อด้วย ส่วนมาก หมีแพนด้าจะกินอาหารที่พื้น บางครั้งถึงจะปีนขึ้นไป กินอาหารบนต้นไม้
[แก้ไข] การสืบพันธุ์
        หมีแพนด้าพร้อมที่จะขยายพันธุ์เมื่ออายุ 4.5-6.5 ปี จะจับคู่ช่วงฤดูใบไม้ผลิ ต้นเดือน มี.ค.-พ.ค.เพศเมียมีช่วงเวลาพร้อมที่จะผสมพันธุ์ 1-3 สัปห์ดา และ จะยอมให้มีการผสม 2-3 วันเท่านั้น จำนวนลูกที่คลอดออกมา มีเพียง 1-3 ตัว โดยปกติจะมีชีวิตรอดเพียงตัวเดียว ลูกหมีจะหย่านมเมื่ออายุ 9 เดือน แม่หมีแพนด้าจะคอยดูแลลูกตน จนกว่าจะถึง 18 เดือน
[แก้ไข] ระบบสังคม
        ส่วนมากหมีแพนด้าจะอาศัยอยู่เพียงลำพัง ตัวเดียว ยกเว้นหมีแพนด้าแม่ลูกอ่อน ในช่วงฤดูกาลให้นมลูก หมีเพศผู้จะต่อสู้กัน เพื่อแย่งเข้าไป หากลุ่มแม่หมี อาณาเขตของหมีเพศเมีย ปกติแล้ว จะอาศัยซึ่งกันและกัน อาณาเขต จะซ้อนทับกันเป็นบางครั้ง ในขณะที่หมีแพนด้าเพศผู้ จะมีอาณาเขตที่กว้างครอบคลุมหมีเพศเมียทั้งหมด

[แก้ไข] กลเม็ดหาคู่
        มีสามแบบสามวิธี วิธีแรกจีบด้วยกลิ่น โดยแพนด้าจะใช้ก้นถูๆ ตามโคนต้นไม้ ก้อนหิน และบนพื้นให้กลิ่นติด และโชยไปแตะจมูกฝ่ายตรงข้าม หรือวิธีที่สองจีบด้วยเสียงเพลง โดยขึ้นไปร้องเพลงรักไม่ซ้ำแบบบนต้นไม้บ้าง บนพื้นบ้าง เพื่อดึงดูดความสนใจของอีกฝ่าย เพลงยอดฮิตก็คือ เลียนเสียงร้องของนก หรือเสียงแพะ และวิธีการจีบกันจะแสดงออกด้วยท่าทาง โดยบางตัวอาจแสดงออกด้วยอาการหงุดหงิด อยู่ไม่สุข กัดกิ่งไม้บ้างตามประสา ฝากรอยข่วนไว้ตามต้นไม้ เพื่อให้เตะตาฝ่ายตรงข้าม เมื่อทั้งสองต่างปิ๊งกันก็เข้าหอกันในทุ่งกว้างตามเชิงเขา ก็มีบางตัวที่หนีขึ้นไปบนต้นไม้
แหล่งที่มา http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%B2

หมีแพนด้า-Drift Mix

นิทานกุ้ยเซียง วัยเด็ก เรื่อง หมีแพนด้ากับกระต่ายจอมเกเร

มีหมีแพนด้าหน้าตาน่ารักตัวหนึ่งเดินไปกลางป่าก็เดินไปชนเจ้ากระต่ายหนุ่มอย่างไม่ตั้งใจ แต่ทันใดที่เดินชนเจ้าหมีแพนด้าก็
รีบกล่าวขอโทษทันที่ "ขอโทษครับ ขอโทษครับ ผมขอโทษนะครับ ผมไม่ได้ตั้งใจจริงๆครับ "หมีแพนด้ากล่าว  แต่ว่าเจ้า
กระต่ายที่มีนิสัยเกเรชอบหาเรื่องกับสัตว์อื่นอยู่แล้วก็กล่าวดุด่าหมีแพนด้าอย่างเสียงดังว่า "ฉันยืนของฉันอยู่ดีดีมาชนได้ไง ฉัน
ให้อภัยไม่ได้ จนกว่านายจะก้มลงเช็ดเท้าให้ฉันก่อน"กระต่ายพูด
   เสียงพูดอันดังก้องป่าของกระต่ายทำให้ได้ยินไปถึงหูของเจ้าหมีโคล่า เจ้าหมีดคล่ารีบวิ่งไปบอกแม่กระต่ายในพฤติกรรมอันเกเร
ของเจ้ากระต่ายน้อย  เมื่อแม่กระต่ายได้ยินการพูดจาข่มขู่  ทำกิริยาที่ไม่ดีของกระต่ายแล้วจึงได้เข้าไปตักเตือนลูกและและให้เจ้า
กระต่ายน้อยเกเรไม่ไปถือสาว่ากล่าวหมีแพนด้าตัวนั้นเหตุการณ์ในวันนั้นจึงจบไป
    วันต่อมาเมื่อหมีแพนด้าเดินไปพบกระต่ายอีกครั้ง ครั้งนี้หมีแพนด้าเดินไปถามไถ่ทุกข์สุขของกระต่ายจอมเกเร   แต่เห็น
กระต่ายมีกิริยาที่เหลี่ยนไป พูดจาดี ท่าทางดีขึ้น หมีแพนด้าจึงถามกระต่ายว่า "เจ้าเป็นอะไร เดี๋ยวนี้ทำไมถึงไม่เห็นเกเรเหมือน
เดิมละ"กระต่ายตอบว่า "ตั้งแต่วันที่ฉันพูดจาโมโหไม่ดีกับเธอ แม่ฉันก็ให้ฉันทำอะไรหลายอย่าง เริ่มปรับปรุงเปลี่ยนแปลงฉันจน
เป็นกระต่ายตัวใหม่ อย่างนี้ละ"
เมื่อหมีแพนด้าได้ยินดังนั้นก็กล่าวแสดงความยินดีและชื่นชมที่กระต่ายน้อยจอมเกเรกลับมาเป็นเด็กดีไม่รังแกสัตว์อื่นอีกต่อไป
นับแต่นั้นมาหมีแพด้ากับกระต่ายและเจ้าหมีโคล่าก็เป็นเพื่อนรักกันตลอดไป

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า   พฤติกรรมต่างๆเราสามารถเรียนรู้และแก้ไขจากร้ายให้เป็นดีได้ จากเด็กเกเรให้เป็นเด็กดีได้ เมื่อเจอกับสถานการณ์และการกระตุ้นเตือนให้แก้ไขปรับปรุง จากผู้ปกครอง พ่อแม่และผู้หวังดี
แหล่งที่มา http://www.ichumphae.com/topic.php?q_id=27213

จากหมีแพนด้าถึงช้างไทย


      ข่าวหลินฮุ่ยกับลูกน้อยสามารถครองพื้นที่บางส่วนบนหน้าหนังสือพิมพ์รายวันหลายฉบับอย่างต่อเนื่อง  รวมทั้งข่าวผ่านจอทีวีในแต่ละวันอีกด้วย
     หมีแพนด้าน้อยลูกของหลินฮุ่ยกับช่วงช่วงนั้น  จะไม่มีใครรู้จักเห็นจะไม่มี  (ถ้าติดตามข่าวผ่านสื่อต่างๆ)  พูดได้ว่ารู้จักมากกว่ารัฐมนตรีอีกหลายคนที่ไม่รู้ว่าเป็นใคร  มีผลงานอะไรบ้าง
     คุณสุวิทย์  คุณกิตติ  รัฐมนตรีคนหนึ่งจะขึ้นไปเยี่ยมสองแม่ลูกหมีแพนด้า  พร้อมทั้งนำสูติบัตรไปมอบให้หมีแพนด้า  คนก็จะรู้จักผลงานคุณสุวิทย์เพิ่มขึ้นอีกประการหนึ่งทันที
     เรียกว่าโดยสารถูกจังหวะว่างั้นเถอะ
     เวลานี้อะไรๆ  ก็หมีแพนด้า  สินค้าเกี่ยวเนื่องด้วยรูปหมีแพนด้าที่ชายแดน  ยอดขายพุ่งจนสินค้านั้นขาดตลาด
     วงการหวยซึ่งไม่ควรเกี่ยวกับหมี   เพราะจะเป็นภาษาไทยที่ล่อแหลมเมื่อภาษาของเรามีคำผวนเป็นลักษณะหนึ่งของภาษาไทย  ก็ยังเกิดหวยหมีเข้าจนได้  ซึ่งวิธีการเพื่อความปลอดภัยควรเรียกว่าหวยแพนด้าจะเหมาะกว่า  คือ  งวดที่ผ่านมานี้  097  ตรงกับจำนวนวันที่หลินฮุ่ยตั้งท้อง
     พูดถึงเรื่องการตั้งท้องของหลินฮุ่ย  ผู้เขียนเกิดความประหลาดใจ  เพราะเข้าใจว่าหมีแพนด้าน่าจะท้องนานกว่า  97  วัน  และยิ่งคำนึงถึงวันผสมเทียมก็ยิ่งไม่น่าจะตกลูกตอนนี้
     หรือว่าหลินฮุ่ยเธอท้องตามธรรมชาติก่อนผสมเทียม  มิฉะนั้นคงมีใครแอบนำไผ่อาหารประจำการไปแช่น้ำยาเบนโล  แล้วจึงค่อยเอาไปให้เธอกิน
     สมมุติฐานว่าหมีแพนด้าน้อยเป็นผลิตผลร่วมกันของหลินฮุ่ยกับช่วงช่วง  ดังนั้น  ช่วงช่วงที่ถูกจับแยกจึงพลอยมีชื่อติดอันดับไปด้วย  เพราะหมีแพนด้าน้อยตัวนี้เป็นตัวแรกของปีนี้  ทั้งก่อนจะเกิดผลิตผลออกมา  การผสมเทียมครั้งสุดท้ายก็เป็นการผสมนอกฤดูกาล
     องค์ความรู้เกี่ยวกับหมีแพนด้าของสัตวแพทย์และนักวิจัยชาวไทยที่เกี่ยวข้องจึงควรแก่การซูฮก  ใช่แต่เท่านั้น  ช่วงช่วงเห็นจะตัวเบาอีกครั้ง  เพราะเขาจะจับพี่แกรีดน้ำเชื้อใส่หลอดส่งไปจีนเพื่อช่วยสาวๆ  หมีแพนด้าจีนทำพันธุ์
     ใครที่ประกาศสัจพจน์ว่า  "นมเมียสำหรับผัว  นมวัวสำหรับลูก"  นั้น  คำประกาศนี้ใช้ไม่ได้กับครอบครัวหลินฮุ่ย-ช่วงช่วง  เพราะหลินฮุ่ยเชื่อเรื่องเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ย่อมทำให้เด็กฉลาดแข็งแรง  หลินฮุ่ยจึงให้นมแก่ลูกเอง  ขาดไปเพียงลูกยังกินนมไม่ครบทุกเต้า
     ไม่เพียงให้นมตามเวลา  หลินฮุ่ยยังอุ้มแพนด้าน้อยตลอดเวลา  เกือบจะทนไม่ไหวก็ยื่นแขนยื่นขาออกมานอกกรง  วานคุณพี่ที่เอาใจใส่เลี้ยงดูช่วยนวดเฟ้น
     ถ้าตกงานจากสัตวแพทย์น่าจะมีโอกาสไปเปิดสำนักนวดแผนไทยคงพอไหว
     วันที่ลงมือเขียนต้นฉบับนี้  นังหนูหมีแพนด้าน้อยลุกขึ้นยืน  4  ขาได้แล้ว  บอกแล้วว่ารู้จากข่าวประจำวัน  ขาดไปแต่ไม่ยักกะรายงานด้วยว่าการขับถ่ายเป็นอย่างไร
     เอาล่ะ  หมีแพนด้าเป็นข่าวได้  เป็นภาพสวยๆ  และน้ำจิตน้ำใจคนไทยก็เมตตาเอ็นดู  ผู้เขียนอดคิดถึงช้างบ้างไม่ได้  ช้างไทยเป็นสัตว์ประจำชาติไทย  เราๆ  ท่านๆ  ที่เป็นไทยด้วยกันคิดถึงช้างอย่างไร  โดยเฉพาะเมื่อมีข่าวน่าเศร้าอย่างพังกำไลประสบอุบัติเหตุ  โชคยังดีที่การรักษาได้รับพระมหากรุณาธิคุณ  ส่วนความบาดเจ็บของพังกำไลก็สาหัสนัก  สำหรับข่าวเกี่ยวกับช้างอีกเชือก  คือพังน้ำฝนลูกช้างที่ห้างฉัตร  จังหวัดลำปาง  เธอยังอยู่ในวัยที่ต้องกินนม  หากเคราะห์ร้ายที่แม่ไม่ยอมให้นม  ไม่โชคดีอย่างลูกของหลินฮุ่ย  นอกจากพังน้ำฝนกินนมแม่ไม่ได้แล้ว  ยังจะถูกแม่ไล่กระทืบอีก  เขาต้องจับแยก  และเลี้ยงพังน้ำฝนด้วยน้ำข้าวซึ่งทำให้ผอมผิดรูปช้าง  ตามที่เชื่อว่าใครจะเขียนรูปช้างหรือรูปฤๅษี   ต้องทำตามคำพังเพยว่า  "คชาผี  ฤๅษีผอม  จึงงาม"
     หมีแพนด้ามาอยู่กับเรา  6  ปีเศษ  คณะสัตวแพทย์และนักวิจัยชาวไทย  ได้มีประสบการณ์และองค์ความรู้เรื่องหมีแพนด้าอย่างน่าทึ่ง  ขณะที่ช้างเป็นสัตว์ประจำชาติไทยในประวัติศาสตร์อันยาวนาน  มีความสัมพันธ์กับสังคมไทยในบริบทต่างๆ  ทั้งประวัติศาสตร์  วัฒนธรรม  เศรษฐกิจและการท่องเที่ยว  เป็นต้น  องค์ความรู้เรื่องช้างของคนไทยย่อมมีมาก  และยังมีช้างอยู่ในแผ่นดิน  ไม่ต้องขอหยิบขอยืมช้างใครจากประเทศไหนมาประคบประหงม
     ส่วนวันข้างหน้านั้นไม่แน่   เมื่อช้างสิ้นจากแผ่นดินไทย  ดังนั้น  ความรู้ที่จะรักษาช้างไว้ได้ต้องเป็นความรู้ที่คู่คุณธรรม  อีกทั้งพึงตระหนักว่าช้างไทยในทุกวันนี้อาภัพนักหนาแล้ว  ไม่ต้องปลูกไผ่ไว้ให้ช้างกิน  หรือไม่ต้องเลี้ยงช้างในห้องแอร์  เพียงแต่ป้องกันมิให้คนไปบุกรุกทำลายป่าอันเป็นที่อยู่ของช้างจนปราศจากแหล่งอาหารตามธรรมชาติ  ต้องออกจากป่ามาเสี่ยงต่อการบุกรุกแหล่งเกษตรกรรมของชาวบ้าน  มากินพืชผักที่ปนเปื้อนสารพิษ  ส่วนช้างที่เป็นช้างบ้านก็ดูแลรักษาเขา  ไม่ถูกทำให้เป็นช้างขอทานเร่ร่อนในเมือง  เสี่ยงอุบัติเหตุ  ฯลฯ
     ความจริงของช้างในโลกมีแค่  2  ตระกูลใหญ่ๆ  คือ  ช้างเอเชียกับช้างแอฟริกา  สำหรับช้างไทยอยู่ในตระกูลช้างเอเชีย  ช้างไทยชอบอากาศเย็น  (แต่ไม่ถึงอยู่ห้องแอร์)  จึงลงน้ำบ่อย  ลอยคอในน้ำและว่ายน้ำได้ดี  ที่อยู่ของช้างจึงมิใช่ข้างถนน  ช้างนอนหลับคืนละ  3-4  ชั่วโมง  (ระหว่างเวลา  23.00- 03.00 น.)  กลางวันจะไม่นอนหลับยกเว้นป่วยไข้
     คนไทยจะมีคำเรียกจำแนกเพศ  ลักษณะช้างและลักษณะนาม  ตามประเภท  ได้แก่  เราเรียกช้างตัวผู้ว่าช้างพลาย  ซึ่งมีงา  ถ้าช้างตัวผู้ไม่มีงาจะเรียกว่าช้างสีดอ  และเรียกช้างตัวเมียว่าช้างพัง  ช้างตัวเมียตามปกติไม่มีงา  อาจมีบ้างที่มีงาสั้นๆ  จะเรียกว่าขนาย  ช้างทั่วไปรูปร่างสูงใหญ่  หากยังมีช้างไทยชนิดหนึ่งสูงเพียง  2  เมตร  เป็นช้างแคระซึ่งเรียกว่าช้างค่อม  เคยมีแถวป่าเขาในจังหวัดสงขลา,  พัทลุง  ปัจจุบันสูญพันธุ์แล้ว
     การที่ถือว่าช้างเป็นสัตว์ประจำชาติไทย  น่าจะมาจากช้างมีคุณูปการต่อชาติบ้านเมือง  โดยเฉพาะการเป็นช้างศึก  ซึ่งเราใช้ช้างในงานพระราชการสงคราม  สมัยสุโขทัย  พ่อขุนรามคำแหงทรงกระทำยุทธหัตถีกับขุนสามชน  เจ้าเมืองฉอด  ต่อมาสมัยกรุงศรีอยุธยา  สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงชนช้างกับพระเจ้าแปร  ครั้นช้างสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเสียทีแก่ข้าศึก  พอดีกับสมเด็จพระศรีสุริโยทัยซึ่งปลอมพระองค์เป็นชาย  ขับช้างเข้าไปช่วย  ก็ถูกพม่าข้าศึกฟันสิ้นพระชนม์บนช้างนั้น
     ยุทธหัตถีอันเลื่องลือยิ่งของประวัติศาสตร์ชาติไทย  คือ  การยุทธหัตถีครั้งสำคัญ  พ.ศ.2135   คราวที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช  ทรงช้างชื่อว่าเจ้าพระยาไชยานุภาพ  ชนช้างกับพระมหาอุปราชาแห่งพม่าที่ทรงช้างพลายพัทกอ  กาลครั้งนั้นพระมหาอุปราชาถูกพระแสงของ้าวพระนเรศวรฟันจนขาดบนคอช้าง  พระราชสงครามครั้งเดียวกันนี้  พระเอกาทศรถได้โดยเสด็จพระราชสงครามด้วย  โดยทรงชนช้างกับมังจาจะโรพระพี่เลี้ยงของพระมหาอุปราชาซึ่งมีพลายพัดชะเนียงเป็นช้างศึก  ผลการรบได้ถูกพระแสงง้าวพระเอกาทศรถฟันขาดบนคอช้างเช่นกัน
     นอกจากไทยสมัยโบราณมีช้างเป็นพาหนะสำคัญทำศึกกับอริราชศัตรูดังกล่าวแล้ว  ในยุครัตนโกสินทร์   แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่  3  ไทยรบกับญวนที่เขมร  พ.ศ.2388  กาลครั้งนี้  เจ้าพระยาบดินทรเดชา  แม่ทัพไทยไปตั้งรับที่เมืองอุดง  ส่วนญวนใช้ทัพเรือเป็นขบวนใหญ่ถึงเมืองอุดง   ท่านเจ้าพระยาบดินทรฯ  ไม่มีกองเรือจะทำการยุทธนาวี  จึงวางกลศึกปล่อยให้ญวนยกพลขึ้นบก  จากนั้นท่านจึงบัญชาให้ใช้ช้างศึกไล่แทงข้าศึ  โดยวางกำลังทหารราบตามตี  จนข้าศึกต้องถอยทัพเรือคืนประเทศตน
     เราจะเห็นว่าช้างมีความสำคัญต่อการรักษาเอกราชของแผ่นดิน  และช้างยังมีความหมายทางวัฒนธรรมอีกหลายประการ  พระมหากษัตริย์พระองค์ใดขึ้นครองราชย์แล้วมีช้างเผือกเกิดขึ้นใต้ร่มพระบารมี  ย่อมถือว่าทรงมีบุญญาธิการมาก  ช้างเผือกที่รับการขึ้นระวางเป็นช้างต้นของหลวง  จะมีอิสริยศ-เทียบชั้นเจ้าฟ้า  ส่วนช้างสำคัญเชือกอื่นๆ  อาจเป็นเจ้าพระยา  พระยา  หรือพระก็แล้วแต่  จึงมีคำเปรียบเปรยถึง  "ยศช้าง  ขุนนางพระ"
     อย่างไรก็ดี  การที่ช้างมีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของไทยมาแต่โบราณกาล  เมื่อแรกจะมีธงชาตินั้นช้างจึงเป็นธงชาติรูปช้างบนผืนผ้าสีแดง  เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ  รัชกาลที่  5  ทรงโปรดฯ  ให้สร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์  ก็มีช้างเผือกในดวงตราเป็นสกุลเครื่องราชสำคัญ  "ที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก"  ในทางภาษาและวรรณคดี  การที่บัญญัติคำเรียกช้างลักษณะนามของช้าง  ตลอดจนมีวรรณคดีเฉพาะเกี่ยวกับช้างโดยตรง  คือ  คำฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง  ที่มีอยู่หลายฉบับ  ดังมีฉบับเก่าแก่สุดเป็นฉบับขุนเทพกวี  ส่วนฉบับล่าสุดเป็นพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  สยามบรมราชกุมารี
     ความสำคัญของช้างมีเป็นอเนกประการ  ยุคสมัยที่เปลี่ยนอาจทำให้ความสำคัญลดลง  แต่คุณค่าทางใจที่ควรรักษาไว้ด้วยความเมตตาต่อช้างไม่ควรจะลดลง.
แหล่งที่มา http://www.thaipost.net/sunday/070609/5848

เรื่องน่ารู้ของหมีแพนด้า

หมีแพนด้า
ลักษณะทางกายภาพ
แพนด้ามีขนบริเวณ หู รอบดวงตา จมูก ขา หัวไหล่ สีดำ ในขณะที่บริเวณอื่นจะมีสีขาว มีฟันกรามขนาดใหญ่ และมีกล้ามเนื้อขากรรไกรที่แข็งแรงสำหรับเคี้ยวต้นไผ่ ซึ่งเป็นอาหารของมัน ตัวของมันที่อ้วนและลักษณะการเดินที่อุ้ยอ้าย ทำให้มันดูเป็นสัตว์ที่น่ารัก แต่ในยามที่มีภัยมาถึงตัว แพนด้าก็มีวิธีการต่อสู้เหมือนหมีทั่วๆ ไป นักวิทยาศาสตร์คิดว่าลักษณะสีขาว-ดำ ของแพนด้า อาจช่วยให้มันดูกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมที่เป็นภูเขา และมีหิมะ

ขนาด
เมื่อวัดส่วนสูงในท่ายืน 4 เท้า แพนด้าสูงประมาณ 2-3 ฟุต จากเท้าถึงหัวไหล่ ในขณะที่ท่ายืน 2 เท้า วัดได้ 4-6 ฟุต น้ำหนักประมาณ 80 ถึง 125 กิโลกรัม โดยตัวผู้จะมีน้ำหนักมากกว่าตัวเมีย 10 ถึง 20 %
 
ถิ่นที่อยู่อาศัย
แพนด้าอาศัยอยู่ในป่าไผ่ที่ความสูงประมาณ 3,600 ถึง 10,500 ฟุต ซึ่งครั้งหนึ่งพวกมันเคยอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ต่ำกว่านี้ แต่การถางป่าเพื่อทำฟาร์ม หรือเพื่อประโยชน์อย่างอื่น ทำให้มันต้องเปลี่ยนถิ่นที่อยู่อาศัย เราพบแพนด้าอาศัยอยู่บริเวณภูเขาทั้งในตอนกลาง และตะวันตกของประเทศจีน
   
ศัตรู
แพนด้าที่โตเต็มที่แล้วมีศัตรูน้อยมาก ศัตรูของมัน ได้แก่ เสือดาวที่อาศัยอยู่บนภูเขาที่มีหิมะ ซึ่งจับลูกหมีแพนด้าที่พลัดจากแม่ของมันกินเป็นอาหาร หรืออาจเป็นฝูงหมาป่าที่จับลูกหมีกินเช่นกัน แต่ศัตรูที่สำคัญที่สุดคือ มนุษย์ที่ล่าแพนด้าเพื่อนำหนังมาขายในตลาดมืด
อาหาร
โดยปกติแพนด้ากินอาหารประมาณ 40 ปอนด์ต่อวัน อาหารหลักของแพนด้าที่อาศัยในป่าคือต้นไผ่ บางครั้งในยามขาดแคลนอาหารหลัก แพนด้าก็กินหัวของพืชประเภทที่เราใช้หัวเป็นอาหาร (เช่น แครอท มันฝรั่ง) หญ้า และสัตว์ขนาดเล็ก แพนด้าที่เลี้ยงในสวนสัตว์ (ต่างประเทศ) นอกจากจะได้รับไผ่เป็นอาหารหลักแล้ว อาหารอื่นๆ ได้แก่ แครอท แอปเปิ้ล มันฝรั่ง

การสืบพันธุ์
ระยะเวลาผสมพันธุ์อยู่ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งในช่วงเวลานั้น ตัวเมียจะมีความต้องการเพียง 2 ถึง 3 วันเท่านั้น สิ่งที่ทำให้ตัวผู้และตัวเมียมาพบกันคือ เสียงร้อง หรือสิ่งที่ถูกขับออกมาจากตัวผู้หรือตัวเมียตามจุดต่างๆ เพื่อดึงดูดเพศตรงข้าม ตัวเมียใช้ระยะตั้งครรภ์ตั้งแต่ 95 ถึง 160 วัน และถึงแม้ว่าแพนด้าตัวเมียสามารถให้กำเนิดลูกแพนด้าฝาแฝดได้ แต่ส่วนใหญ่จะมีลูกแพนด้าเพียงตัวเดียวที่รอดชีวิต เนื่องจากอาหารที่จำกัด
ถ้ายกเว้นสัตว์จำพวกจิงโจ้แล้ว เราถือว่าลูกแพนด้าเป็นลูกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เล็กที่สุด ลูกแพนด้าที่เกิดใหม่มีน้ำหนักเพียง 4 ถึง 6 ออนซ์เท่านั้น (110 ถึง 170 กรัม) และยังไม่ลืมตา ลูกแพนด้ามีการเจริญเติบโตที่ช้า จะมีน้ำหนักเท่ากับแพนด้าพ่อ-แม่ของมันเมื่ออายุประมาณ 2 ถึง 4 ปี ลูกแพนด้าจะอยู่กับแม่จนอายุประมาณ 2 ปี จึงออกไปเผชิญโลกด้วยตัวเอง เนื่องจาก อายุที่สามารถสืบพันธุ์ได้ของแพนด้าตัวเมีย อยู่ในช่วงประมาณ 6 ถึง 20 ปี และตัวเมียจะให้กำเนิดลูกอย่างมาก 2 ปีต่อลูกแพนด้า 1 ตัว ดังนั้นแพนด้าตัวเมียสามารถให้กำเนิดลูกแพนด้าได้อย่างมากประมาณ 7 ตัว ในช่วงอายุขัยของมัน ซึ่งถือว่าเป็นอัตราการให้กำเนิดลูกที่น้อยมาก และนี่เป็นเหตุผลว่าทำไมจำนวนแพนด้าที่เกิดใหม่จึงไม่สามารถทดแทนแพนด้าที่ตายไปจากการถูกล่าได้ การลดจำนวนลงอย่างมากของหมีแพนด้าในระยะเวลาที่ผ่านมา ทำให้มีการตั้งองค์กรที่ทำหน้าที่อนุรักษ์หมีแพนด้าขึ้น
   


   อายุขัย
นักวิทยาศาสตร์ยังหาข้อสรุปที่แน่นอนไม่ได้ว่าแพนด้ามีอายุได้ยืนยาวเท่าไร มีสถิติที่บันทึกไว้โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวจีนว่า แพนด้าที่สวนสัตว์มีอายุถึง 35 ปี
พฤติกรรม
แพนด้ามักอยู่ในท่านั่งเวลากินอาหาร ซึ่งคล้ายกับคนนั่ง มันใช้อุ้งเท้าของมันช่วยจับต้นไผ่ในขณะที่กินอาหาร เวลาส่วนใหญ่ถูกใช้ไปกับการพักผ่อน การกิน และการหาอาหาร งานวิจัยช่วงแรก ทำให้นักวิทยาศาสตร์คิดว่า แพนด้าเป็นสัตว์ที่ชอบอยู่โดยลำพัง จะพบกันเฉพาะช่วงฤดูกาลผสมพันธุ์เท่านั้น แต่จากงานวิจัยต่อมา พบว่าแพนด้ามีการอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเล็กๆ โดยแต่ละกลุ่มมีการใช้ถิ่นที่อยู่อาศัยบางบริเวณร่วมกัน และบางครั้งสมาชิกในกลุ่มหนึ่งออกมาพบสมาชิกในกลุ่มอื่นในช่วงฤดูกาลผสมพันธุ์ อย่างไรก็ตาม คงต้องมีการทำวิจัยต่อไป
แหล่งที่มา http://smartotori.exteen.com/20091014/entry-5